การปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลในรูปของตารางประกอบการบรรยาย
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านฉันทะ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 รองลงมา ได้แก่ ด้านวิมังสา อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ด้านวิริยะ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 และด้านจิตตะ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 ตามลาดับ
นักเรียนมีข้อเสนอแนะในการปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียน ด้านฉันทะ ความพึงพอใจต่อการศึกษาเล่าเรียนมากที่สุด เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้ว พบว่า ประเด็นการมีความปรารถนาจะศึกษาเล่าเรียนพอใจและภาคภูมิใจที่ได้เรียนหนังสือมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านวิมังสาเตือนตนในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า ประเด็นการศึกษาเล่าเรียนจนกว่าจะสาเร็จมากที่สุด และด้านวิริยะเพียรพยายามในการเรียน เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า มีความเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียนมากที่สุด ด้านจิตตะ เอาใจฝักใฝ่ต่อการศึกษาเล่าเรียน เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า ประเด็นเกี่ยวกับเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียนมากที่สุด
Article Details
References
พระสุตตันตปิฎก
องฺ.จตุกฺก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (ภาษาไทย)
องฺ.ปญฺจก. (ไทย) = สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต (ภาษาไทย)
ที.ปา. (ไทย) = สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ภาษาไทย)
ปิ่น มุทุกันต์. แนวการสอนธรรมตามหลักสูตรนักธรรมตรี. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์คลังวิทยา, 2514.
พระครูประพัฒน์วรธรรม. “ทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการดาเนินชีวิต”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2541.
พุทธทาสภิกขุ. ธรรมะคือหน้าที่. นครศรีธรรมราช: สานักพิมพ์นาครบวรรัตน์, 2534.
พันตรีประยุทธ์ หลงสมบุญ. พจนานุกรมมคธ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์, 2540.