รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย

Main Article Content

ภารดี พูลประภา เอี่ยมเจริญ

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย” ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่าง วิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ของพุทธศาสนิกชนไทย 2. เพื่อศึกษาหลักพระวินัยและกฎมหาเถรสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ และ 3. ศึกษาและเสนอรูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
              จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัยไว้เบื้องต้น จากการศึกษาพระวินัยปิฎก แล้วพบสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 12 มีใจความสาคัญว่า “ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส” จึงเห็นว่า สามารถนามาเป็นแบบแผนการลงโทษพระภิกษุผู้กระทาผิดพระวินัยแล้วไม่สานึกผิดได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ เมื่อพุทธศาสนิกชนพบเห็นพระภิกษุรูปใดประพฤติผิดพระวินัยสิกขาบทใดๆ ก็ตาม หรือประพฤติอนาจารไม่เหมาะสมกับสมณเพศ ให้แจ้งไปที่วัดต้นสังกัดของพระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระวินัยนั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นจะต้องสืบหาข้อเท็จจริง หาก พบว่า เป็นความจริงตามที่มีผู้แจ้งมา ควรเรียกพระภิกษุผู้ประพฤติผิดพระวินัยนั้นมาพบ แล้วว่ากล่าวตักเตือนให้กลับตนมั่นคงในศีลของพระ หากท่านกลับตนได้ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา แต่ถ้าท่านยัง ประพฤติผิดซ้าซาก ไม่ฟังคาตักเตือน เจ้าอาวาสก็ควรดาเนินการประชุมสงฆ์ในอุโบสถ ให้ภิกษุรูปหนึ่งผู้ฉลาดและสามารถ สวดสมนุภาสนา โดยทาเป็นจตุตถกรรมวาจา คือ สวดญัตติหนึ่งครั้ง และสวด สมนุภาสนาสามครั้ง เมื่อสงฆ์สวดประกาศสมนุภาสนาจบครั้งที่สาม ภิกษุผู้ว่ายากสอนยากนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสสเพิ่มขึ้นอีก และจะต้องถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมตามพระวินัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขุ.เถร. (ไทย) 26/454/417.
ม.ม. (ไทย) 13/161-162/182.
ม.มู. (ไทย) 12/74/66
วิ. มหา. (ไทย) 4/32/39.
วิ.จู. (ไทย) 445/386-390.
วิ.จู. (ไทย) 6/1-10/1-21.
วิ.จู. (ไทย) 6/21-32/39-65.
วิ.จู. (ไทย) 6/46-74/85-152.
องฺ.ปญฺจก. (ไทย) 22/179/301
องฺ. ฉกฺก. (ไทย) 22/10/423.
กรมการศาสนา. หนังสือคู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคาสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2553.
ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 66 ตอนพิเศษ วันที่ 25 ธันวาคม 2521.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). คาวัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2548.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2542.
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน. พระพุทธศาสนากับปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: www.cybervanaram.net, [8 ก.ค. 2560].
พระราชธรรมนิเทศ. ธรรมปริทรรศน์ 2. (อธิบายธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2). หน้า 14
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ธมฺมปทฏฺฐกถา (ตติโย ภาโค). พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. วินัยมุข เล่ม 1. หน้า 19-20.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. วินัยมุข เล่ม 3. หน้า 184.
Robrt. V. Krejcie and Earyle W. Morgan. Educational and Psychological Measurement. 1970 : 608-609.