เศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้ง ในจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้งในจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของสังคมไทย ในการมองผ่านมิติของเศรษฐศาสตร์การเมือง ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ จานวน 400 คน โดยการสุ่มตามสะดวกจากประชากรใน 16 อาเภอ ของจังหวัดชัยภูมิ โดยทาการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2560 ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของสังคมไทย ในการมองผ่านมิติของเศรษฐศาสตร์การเมือง ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ประชาชนรายได้ไม่พอกับรายจ่าย เห็นคุณค่าของวัตถุนิยมและเงินตรา ปัญหาเด็กและเยาวชนติดยาเสพติด ข่มขืน ท้องก่อนวัยอันควร การทาแท้ง ทะเลาะวิวาท มีความสัมพันธ์ทางสังคมแบบทุนนิยมและระบบอุปถัมภ์ มีการขูดรีดระหว่างชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นนายทุนที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน มีความสัมพันธ์กันระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ของสังคมที่ซ้อนทับกันอยู่อย่างหลากหลาย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านศาสนาและอุดมการณ์
ในจังหวัดชัยภูมิกลุ่มที่มีอิทธิพลที่ควบคุมเศรษฐกิจของจังหวัดชัยภูมิและชี้นาสังคม ได้แก่ กลุ่มพ่อค้าที่มีเชื้อสายจีนและกลุ่มลูกหลานเจ้าเมืองชัยภูมิ ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ จุดมุ่งหมายไม่ตรงกัน แบ่งพรรค แบ่งพวก แบ่งชนชั้น ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าส่วนรวม การต่อสู้ขัดขวางการกระทาของอีกฝ่าย สถานะทางสังคมและรายได้แตกต่างกัน การแสวงหาผลประโยชน์ของนักการเมือง ข้าราชการ วัตถุนิยม ความขาดแคลนทรัพยากร ความขัดแย้งส่วนบุคคล รับรู้ข่าวสารที่ผิด ฟังข้อมูลด้านเดียว ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้ง ได้แก่ ความวุ่นวาย ไม่มีระเบียบในสังคม ขาดความสามัคคีในหมู่คณะ เกิดความล่าช้าในการพัฒนาด้านต่างๆ แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ได้แก่ การเจรจาพูดคุย ประนีประนอม การจัดกิจกรรมโดยฝึกการอยู่ร่วมกัน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เป็นคนมีเหตุผลและใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาต่างๆ รู้จักยอมตาม ถอยคนละก้าว เอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จังหวัดชัยภูมิจะมีความขัดแย้งกันแต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงเหมือนจังหวัดอื่นๆเนื่องจากชาวจังหวัดชัยภูมิทุกคนต่างมีความเชื่อและศรัทธาในองค์เจ้าพ่อพระยาแล ซึ่งเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรกเหมือนกันและทุกคนต่างมีความเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานเจ้าพ่อพระยาแล หากมีการทะเลาะขัดแย้งกันก็จะทาให้เจ้าพ่อพระยาแลไม่ชื่นชอบและไม่สบายใจอะไรที่ยอมกันได้ชาวจังหวัดชัยภูมิก็จะยอมกันเพื่อถวายเจ้าพ่อพระยาแล สังเกตได้จากงานกาชาดจังหวัดชัยภูมิ และงานบุญเดือน 6 ที่จัดขึ้นเป็นประจาทุกปีเพื่อถวายเจ้าพ่อพระยาแล เพราะชาวจังหวัดชัยภูมิทุกคนต่างเคารพศรัทธาและมีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจคือเจ้าพ่อพระยาแลเหมือนกัน
Article Details
References
กันตพัฒน์ ชนะบุญม. “การต่อสู้ของชนชั้นนาไทย ปี พ.ศ. 2549-2557”. หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2559.
กาญจนา แก้วเทพ. พัฒนาการความคิดมาร์กซิสต์ในศตวรรษที่ 20: สานักแฟรงเฟิร์ต. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 คาร์ล มาร์กซ์. Das Kapital ว่าด้วยทุน เศรษฐศาสตร์การเมืองวิพากษ์ เล่ม 1. แปลโดย เมธี เอี่ยมวรา, กรุงเทพมหานคร: อักษรพิทยา, 2542.
ณรงค์ บุญสวนขวัญ. “ความขัดแย้งทางสังคมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นบ้านแห่งหนึ่งในอาเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช”. สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. เศรษฐศาสตร์การเมืองและทฤษฎีสังคมวิพากษ์. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
วรชัย วุฒิสารสกุล. “แนวทางการบริหารความขัดแย้งการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่มเกลี่ยกล่อม”.ปริญญาโทโครงการพิเศษ. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์, ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น, กรุงเทพมหานคร: โครงการตาราพื้นฐาน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.