ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการให้บริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาความต้องการของชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้นาชุมชนและประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดชัยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์จาแนกประเภทบนพื้นฐานของหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ผลจากการศึกษาความต้องการของชุมชนในการรับบริการทางวิชาการด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนมีความต้องการรับบริการทางวิชาการเกี่ยวกับการสร้างงาน การสร้างอาชีพ การเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว การแปลงขยะให้เป็นสินทรัพย์และเป็นรายได้ การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การแปรรูปพืชผักผลไม้ในท้องถิ่นให้มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน การจัดทาบัญชีครัวเรือน
2. ผลจากการศึกษาความต้องการของชุมชนในการรับบริการทางวิชาการด้านสังคม พบว่า ประชาชนมีความต้องการรับบริการทางวิชาการเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย การปฐมพยาบาล การป้องกันโรคไข้เลือดออก การเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การดูแลผู้สูงอายุ การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชน
3. ผลจากการศึกษาความต้องการของชุมชนในการรับบริการทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนมีความต้องการรับบริการทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การนาขยะมา รีไซเคิล การจัดตั้งธนาคารขยะ และการแปลงขยะให้เป็นสินทรัพย์ การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าโดยการปลูกต้นไม้ทดแทน การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้า ลาคลอง และแม่น้า การทาท่อระบายน้าเพื่อแก้ไขปัญหาน้าขังเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น การทาฝายชะลอน้า การทาปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพจากของเหลือใช้และใบไม้
Article Details
References
สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์. 2554.
Brinkhurst, M., Rose, P., Maurice, G. and Ackerman, J.D. Achieving campus sustainability: top-down, bottom-up, or neither?. International Journal of Sustainability in Higher Education. Vol. 12 No.4, (2011). pp.338-354.
Doman, M.S. A new lean paradigm in higher education: a case study. Quality Assurance in Education, Vol.19 No.3, (2011). PP.248-262.
Fisher, R.M Applying ISO 14001 as a business tool for campus sustainability: A case study from New Zealand. International Journal of Sustainability in Higher Education, Vol. 4 No.2, (2003). pp.138-150
Hammond, C. and Churchman, D. Sustaining academic life: A case for applying principles of social sustainability to the academic profession. International Journal of Sustainability in Higher Education, Vol. 9 No.3, (2008). pp.235-245
Moravec, J.W. A new paradigm of knowledge production in higher education. On The Horizon, Vol.16 No.3, (2008). pp.123-136.
Owlia M.S. and Aspinvall E.M. A framework for the dimensions of quality in higher education. Quality Assurance in Education, Vol.4 No. 2, (1996). pp.12-20.
Ryan, A. et al. Sustainability in higher education in the Asia-Pacific: developments, challenges, and prospects. International Journal of Sustainability in Higher Education, Vol.11 No.2, (2010). pp.106-119.
Shephard, K. Higher education for sustainability: seeking affective learning outcomes. International Journal of Sustainability in Higher Education, Vol. 9 No.1, (2008). pp.87-98
Svensson, G. and Wood, G. Proactive versus Reactive Business ethics performance: a conceptual framework of profile analysis and case illustrations. Corporate Governance, Vol.4 No.2, (2004). pp.18-33.
Venkatraman, S. A framework for implementing TQM in higher education programs. Quality Assurance in Education, Vol.15 No.1, (2007). pp.92-112
Wright, T. University presidents’ conceptualizations of sustainability in higher education. International Journal of Sustainability in Higher Education, Vol. 11 No.1, (2010). pp.61-73