พญานาคในเมืองเชียงตุง

Main Article Content

ภัทรชัย อุทาพันธ์ และคณะ

บทคัดย่อ

               งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาพญานาคในเมืองเชียงตุง 2. เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทัศนะพญานาคต่อวิถีชีวิตในเมืองเชียงตุง 3. เพื่อแสวงหาคติธรรมพญานาคที่มีต่อวิถีชีวิตในเมืองเชียงตุง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ พระนักเผยแผ่เขตลุ่มแม่น้าโขงเมืองเชียงตุง 8 รูป และคฤหัสถ์ 2 คน จานวนรวมทั้งสิ้น 10 คน ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุง และมีความรู้ด้านพุทธศาสนาและพญานาค เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย แบบข้อมูลการสารวจ และการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม และแบบการลงภาคสนาม ที่ผ่านการตรวจคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม นาข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบด้วยวิธีสามเส้า แล้วนามาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
               ผลการวิจัย พบว่า พญานาคมีบทบาทความสาคัญต่อเชียงตุง พุทธศาสนา วัฒนธรรม และคติธรรม ซึ่งเป็นเมืองที่มีความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค มีความสาคัญกับสถานที่สาคัญ เช่น หนองตุงหรือวัดที่สาคัญ โดยพญานาคเชื่อว่าเป็นสัตว์พิเศษที่มีฤทธิ์มาก แต่ชาวเมืองเชียงตุงก็ไม่ได้เชื่อจนให้ความสาคัญหรือมีพิธีการบูชาแบบยิ่งใหญ่ ซึ่งพญานาคมีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของการบวชพระจะต้องมีสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของนาค โดยเมืองเชียงตุงใช้การปั้นเทียนทองและเงินเป็นตัวรูปพญานาคแทนการแห่นาค มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ได้แก่ วัฒนธรรมการสร้างวัด เจดีย์ วิหาร การบวช จะต้องมีสิ่งแทนหรือสัญลักษณ์พญานาคปรากฏอยู่เสมอ โดยมากจะนิยมสร้างเป็นนาคคู่ พญานาคเป็นสัตว์พิเศษ ประเสริฐ มีอิทธิฤทธิ์ เป็นรูปแบบคติธรรมของการทาความดี เช่น สัจจะ และคอยพิทักษ์ปกป้องพุทธศาสนาเรื่อยมาทุกยุคทุกสมัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตรกร เอมพันธ์. “พญานาค เจ้าแห่งแม่น้าโขง: พิธีกรรมกับระบบความเชื่อพื้นบ้านแห่งวัฒนธรรมอีสาน”.วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
พระไตรปิฎก เล่มที่ 4. พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค 1. มุจลินทกถา [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=04&siri=3. (13 กรกฎาคม 2560).
พระโสภณวิหารการ ( พิศิษฐ์ สุวีโร ธรรมโรจน์). “ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องพญานาคในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร, 2554.
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยศาสนศึกษา. พุทธประวัติ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/buddhist59.htm, (13 กรกฎาคม 2560).