การศึกษาวิเคราะห์เรื่องความโลภในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ภารดี พูลประภา เอี่ยมเจริญ
ปรุตม์ บุญศรีตัน

บทคัดย่อ

 บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความโลภในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาวิธีระงับความโลภตามหลักพระพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่า ความโลภในพระพุทธศาสนาเป็นอาการของจิตที่อยากได้ไม่รู้จักพอ เป็นความเศร้าหมองของจิตซึ่งทำให้บุคคลแสวงหาสิ่งที่ต้องการในทางทุจริต เป็นรากเหง้าของอกุศลมูล ความโลภจำแนกออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ความโลภอย่างละเอียด 2) ความโลภในระดับกลาง 3) ความโลภในระดับหยาบ ความโลภทุกระดับเป็นเหตุของทุกข์ วิธีการระงับความโลภ สามารถระงับด้วย 1) การให้ทาน 2) รักษาศีล 3) การเจริญภาวนา คือ การกำจัดความไม่รู้ ทำให้เกิด ดวงปัญญารู้แจ้งเห็นแจ้งไปตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต การภาวนาจึงถือเป็นการป้องกันไม่ให้ความโลภนั้นกลับมาครอบครองจิตใจของเราได้อีก การระงับความโลภทั้งรูปแบบของการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา จะเป็นแนวทางที่จะทำให้ความโลภในจิตใจของมนุษย์เบาบางลงไปได้และ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างเสริมปัญญา ทำให้ชีวิตสามารถดำเนินไปได้อย่างสงบสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพมหานคร :
ธรรมสภา, 2535.
คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตวิภาวินีฎีกา ฉบับ
แปลเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2535.
ธนู จงเลิศจรรยา. พระอภิธัมมัตถสังคหะเก้าปริจเฉท. กรุงเทพมหานคร: อำนวยสาสน์, 2528.
ปิ่น มุทุกัณฑ์. พุทธศาสตร์ ภาค 2. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2535.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อ ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที 12. กรุงเทพมหานคร:
สุขภาพใจ, 2543.
หลวงวิจิตรวาทการ. กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ 2. กรุงเทพมหานคร: สารมวลชน, 2535.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). พุทธธรรมฉบับขยายความ. พิมพ์ครั้งที 11. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2549.
สมภาร พรมทา. พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สารมวลชน, 2535.