ศึกษาความเชื่อเรื่องเปรตในประเพณีสารทเดือนสิบ: กรณีศึกษาประชากร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาเรื่องเปรตที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา2.เพื่อศึกษาระดับการเข้าร่วมประเพณีสารทเดือนสิบ และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องเปรตในประเพณีสารทเดือนสิบตามหลักพระพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า เปรตหมายถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและไปเกิดยัง เปรตวิสัย ในนรก เพราะในขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบาปกรรมไว้ เปรตที่ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปในวันสารทเดือนสิบนั้นคือ “ปรทัตตูปชีวีเปรต” ซึ่งปรทัตตูปชีวีเปรตเป็นเปรตจำพวกเดียวเท่านั้นที่อาจจะรับส่วนบุญกุศลที่ญาติมิตรของตนอุทิศให้ จึงทำให้เกิดเป็นประเพณีสารทเดือนสิบที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ บรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้วและได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนประชาชนชาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีระดับของการเข้าร่วมประเพณีสารทเดือนสิบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นว่าประเพณีสารทเดือนสิบมีความสำคัญต่อชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมากที่สุด เพราะประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่ทำให้ลูกหลานได้ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว และยังได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชน และยังถือเป็นช่วงเวลาแห่งการรวมญาติประจำปีของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำหรับการจัดหมฺรับในอนาคต ควรพัฒนาในด้านความสวยงาม ดูดี แต่ต้องคำนึงถือเครื่องอุปโภคบริโภคที่ใส่ในหมฺรับ เพราะพระภิกษุสงฆ์จะใช้สิ่งของที่บรรจุในหมฺรับนี้ในการดำรงเพศสมณะช่วงเข้าพรรษา การตั้งเปรต- ชิงเปรตในอนาคตนั้น ในแต่ละวัดควรจะมีสถานที่สำหรับการตั้งเปรตให้ชัดเจน มีผู้ที่คอยจัดระเบียบสำหรับผู้คนที่จะชิงเปรต เพื่อมิให้เกิดการชิงเปรตก่อนกำหนดและมีหน้าที่ให้สัญญาณชิงเปรต และสถานที่จัดกิจกรรมประเพณีสารทเดือนสิบควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีสารทเดือนสิบแก่ผู้ที่เข้าร่วมประเพณีให้มากขึ้น ควรจัดสถานที่วัดให้สะอาดและเหมาะสม ส่วนการจัดกิจกรรมสารทเดือนสิบภาครัฐนั้นควรจะจัดในสถานที่เดียว และควรจะมีการให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับประเพณีสารทเดือนสิบและสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ได้จากการเข้าร่วมประเพณีสารทเดือนสิบตามจุดต่างๆ ในสถานที่จัดงานด้วย
Article Details
References
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2551.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 : เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ-
พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7รอบ 5ธันวาคม
2554. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. 2556.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. เดือนสิบ’41 ที่ระลึกในการจัดงานประเพณีเทศกาลเดือนสิบ
ประจำปี 2541 จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นาคร,2541.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. สารจังหวัดนครศรีธรรมราชฉบับพิเศษ “เดือนสิบ’47” ที่
ระลึกในการจัดงานประเพณีสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี 2547.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เอดิสัน เพรส โปรดักส์, 2547.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนครศรีธรรมราช ฉบับพิเศษ เดือนสิบ ’49 ที่ระลึก
ในการจัดงานประเพณีเทศกาลเดือนสิบ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี 2549.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ เอดิสัน เพรส โปรดักส์, 2549.