การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรม ของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

วสิษฐ์พล กูลพรม
ราณี วงศ์คงเดช

บทคัดย่อ

               งานวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูนมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบริบทชุมชนเข้มแข็งของประชาชนเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งของประชาชนเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน และ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูนตามหลักพุทธธรรม    


              ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาโดยการใช้กระบวรการทางทฤษฏี term 1.Technology เทคโนโลยี ด้านเทคโนโลยีนั้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญ ที่ภาครัฐต้องนำมาใช้ เพื่อบริการประชาชนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว 2.Economic เศรษฐกิจ ปัจจุบันด้านเศรษฐกิจ มีความสำคัญยิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน เศรษฐกิจดี ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ทำให้ประชาชนกินดี อยู่ดี ประชาชนไม่มีหนี้สิน ชุมชนก็เข้มแข็ง 3.Resource ทรัพยากร ด้านทรัพยากรบุคคลถือว่าสำคัญที่สุดต่อการพัฒนาต่างๆ ต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ 4.Mental จิตใจ ความเข้มแข็งของชุมชนเริ่มต้นที่จิตใจเป็นสำคัญ ถ้าประชาชนมีจิตใจที่อ่อนแอไม่เข้มแข็ง ก็พ่ายแพ้แก่ปัญหาชีวิต  นอกจากนั้นก็มีการพัฒนากระบวนการสร้างความเข้มแข็งด้วยหลักพุทธธรรม จักร 4 (ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง) ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย หลักจักร 4 มีประยุกต์ใช้เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน คือ จักร 4 ได้แก่ 1. ปฏิรูปเทสวาสะ (อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม) ชุมชนตำบลต้นธงถือว่าตั้งอยู่ในถิ่นที่เหมาะสมทั้งด้าน อาณาเขตที่สะดวกสบายด้านการสัญจร เอื้ออำนวยต่อหลายๆด้าน 2. สัปปุริสูปัสสยะ (สมาคมกับสัตบุรุษ) คือการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการเสวนา คบหาบุคคลอื่นที่เป็นคนดีมีกัลญาณมิตร 3. อัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นำตนไปถูกทาง) ในตำบลต้นธงดังกล่าวมาแล้วว่ามีโครงการฝึกอบรมธรรมะแก่ประชาชน  หลายโครงการ เช่น พระธรรมทูตสัญจร อ.ป.ต.สัญจร พบประชาชนโครงการหมู่บ้านรักษาศีลห้า เป็นต้น 4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น) ถือได้ว่าเป็นการเสริมสร้างคุณความดี จากการประพฤติปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องนั้น นับได้ว่าเป็นทุนเดินของสังคมที่ได้สั่งสมความดีมาก่อน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ส่งคมในตำบลต้นธงมีความเข้มแข็งสงบสุข ตามแบบของชุมชน สังคมวิถีพุทธ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมการพัฒนาชุมชน,2548.
ขวัญกมล ดอนขวารศ. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. มหาวิทยาลัย
กกกกกกกกเทคโนโลยีสุรนา. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม :
กกกกกกกกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี, 2554-2555.
จินตวีร์ เกษมศุข. หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร :
กกกกกกกกสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2557.
ญาเรศ อัครพัฒนานุกูล. “การกระจายอำนาจกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาค
ประชาชน:กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี”. รายงานวิจัย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2556.
ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. ชุมชนศึกษา : การศึกษาชุมชนในยุคหลังสมัยใหม่. ภาควิชาสังคมศาสตร์
กกกกกกกกคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2544.
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. คณะมนุษย์ศาสตร์และ
กกกกกกกกสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2540.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร ผศ.ดร. และอุทิศ สังขรัตน์ ดร. “แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของ
วิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา”. ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ :
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2556
ประเวศ วะสี. ประชาคมตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มติชน,2541.
สนธยา พลศรีผศ. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.2545.
พัฒน์ บุญรัตพันธุ์. การสร้างพลังชุมชนโดยขบวนการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช
,2517.
บรรยวัสถ์ ฝางคำ และนฤมล ดวงแสง. “การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่
สถาบันครอบครัวและชุมชนตามนโยบายการป้องกันปัญหาสารเสพติดของจังหวัดอุบลราชธานี”. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2539.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. การพัฒนาชุมชน: เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการพัฒนาชุมชน.
กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2525.
วิรัช เตียงหงษากุล. หลักการพัฒนาชุมชน บทบาทของสถาบันการศึกษากับการพัฒนาชุมชนชนบท.
สาขาพัฒนาชุมชน ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2529.
สนธยา พลศรีผศ. ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์,
2545.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็งกรณีดอกไม้ประดิษฐ์จากใบ
ยางพารา. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2551.
สานิตย์ บุญชู. การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2525.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. หลักการสื่อสารมวลชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราช
ภัฏสวนสุนันทา, 2549.