พฤติกรรมจิตสาธารณะ เด็กไทยยุค Generation Z: การสร้างจิตสาธารณะตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมจิตสาธารณะในเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมจิตสาธารณะในเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา 3) เพื่อสร้างรูปแบบจิตสาธารณะของเด็กยุค Generation Zตามแนวพระพุทธศาสนาโดยดำเนินการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งศึกษาลักษณะมูลเหตุและองค์ประกอบการก่อให้เกิดพฤติกรรมจิตสาธารณะเด็กไทยยุค Generation Z: การสร้างจิตสาธารณะตามแนวพระพุทธศาสนาจากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นกลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนเยาวชน Generation Z ในจังหวัดเขตภาคเหนือ
ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมจิตสาธารณะในเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าได้รับการปลูกฝังเรื่องพฤติกรรมจิตสาธารณะตั้งแต่เรียน ม.ต้น คุณครูเป็นผู้ปลูกฝังเรื่องการมีจิตสาธารณะในการช่วยเหลืองานโรงเรียน และรู้จักการสละเวลามาทำงานเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ทางครอบครัวจะปลูกฝังให้ช่วยเหลือคนอื่น ช่วยงานบ้าน ช่วยดูแลน้องๆ ทำงานที่ตัวเองรับผิดชอบ สอนให้มีน้ำใจ ถ้ามีโอกาสก็ช่วยเหลือคนอื่น
2. แรงจูงหรือปัจจัยที่จะทำให้นักเรียน นักศึกษาแสดงพฤติกรรมในลักษณะพฤติกรรมจิตสาธารณะ มีการทุ่มเทและอุทิศตน มีความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล อันจะก่อให้เกิดคุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะพบว่าเกิดการปลูกฝังจากครอบครัวและการดำเนินชีวิตตามตัวอย่างที่ดี
3.สำหรับรูปแบบจิตสาธารณะของเด็กยุค Generation Z ตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าควรสร้างการมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจรวมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีที่มีอยู่ในพื้นฐานของจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงออกมาภายนอกปรากฏเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดผ่านการกระทำของบุคคล ซึ่งการแสดงออกของบุคคลที่มีจิตสาธารณะจะมีลักษณะสำคัญ คือเป็นบุคคลที่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ทั้งมีความรับผิดชอบในส่วนของตน ไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับผู้อื่น เช่น การไม่เอาเปรียบผู้อื่น การไม่ประพฤติคดโกงและมีการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้เกิดในสังคมและการไม่ทำลายสังคมไม่ว่าทางใดก็แล้วแต่ เช่น รักษากฎระเบียบที่ดีงาม อยู่ภายใต้ระเบียบวินัย ช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังและความสามารถของตนเอง
Article Details
References
ทางด้านสิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล”.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาชา
วิชาสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยมหิดล. 2540.
ชาย โพธิสิตา และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง จิตสานึกต่อสาธารณะสมบัติ : ศึกษากรณี
กรุงเทพมหานคร. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.2540.
ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. “ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยบทบาทสมมติกับตัวแบบ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2547.
บุญสม หรรษาศิริพจน์. “จิตสำนึก”. วารสารวิชาการสภาอาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 4
(1) 2542. หน้า 71–73
พญ.จิราภรณ์อรุณากูร อาจารย์แพทย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีข่าวบันเทิง
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -อังคารที่ 16 กันยายน 2557 00:00:27น.[ออนไลน์].แหล่งที่มา
:http://www.beta.ryt9.com/s/tpd/1986347. [5 กันยายน2558]
พวงเพชร สุรัตน์กวิคุล. มนุษย์สังคม.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและสังคม สัญจร. สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. 2543. หน้า 22–29
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ. รูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีจิตสาธารณะ :
การศึกษาระยะยาว. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2547.
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. การศึกษาสภาพงานวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 2553.
สกุณา บัณฑุรัตน์และคณะ. แนวคิดรูปแบบและวิธีการของการพัฒนาจิตสำนึกอาสามสมัคร. สำนัก
บัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2542.