การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง 2. เพื่อศึกษาการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และปริมาณ (Quantitative Research ) โดยผู้วิจัยเลือกพื้นที่บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในชุมชนประกอบอาชีพหลัก ด้านเกษตรกรรม เพาะปลูกพืชเมืองหนาว เช่น กาแฟพันธุ์อาราบิก้า แมคคาดีเมีย (Macadamia) ลูกพลับ บ๊วย ชา เสาวรส ต้นโสม สมุนไพร สาหร่าย และได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวงเข้ามาให้ความรู้ด้านการเกษตร เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นและมีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชฤดูหนาว
จากการศึกษาในด้านสภาพบริบททางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยพิจารณาถึงด้านการเข้าถึง โดยพบว่ามีเส้นทางที่อำนวยความสะดวกให้สามารถเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ และมีป้ายบอกทางตามเส้นทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ชุมชนยังได้มีรางวัลที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชม สามารถนำมาพัฒนาเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว รวมถึงผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นของฝากของที่ระลึก และกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
สำหรับการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมจากการศึกษาด้านสภาพการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผลการศึกษาทำให้สามารถพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ 2 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดลำปาง
Article Details
References
ราเมศร์ พรหมชาติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษาบ้านโป่ ง ตำบลป่ าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. คณะศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรพล วัฒนเหลืองอรุณ. การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระบบเหมืองฝายของภูมิปัญญาชาวบ้าน :กรณีศึกษาบ้านห้วยอีค่าง ตำบลแม่วิน จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. 2551.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี. 2555.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2545-2550). กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี. 2547.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การวิจัย พ.ศ. 2555-2559 : ภาคเหนือ. กรุงเทพมหานคร: 2554.
สำนักงานจังหวัดลำปาง. แผนพัฒนาจังหวัดพะเยา(พ.ศ. 2555-2559). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.Lampang.go.th. [5 มิถุนายน 2558].
สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว. ประกาศสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวเรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ลงวันที่ 27 เมษายน 2557. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
www.tourism.go.th. [5 มิถุนายน 2558].
สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว. ประกาศสำนักงานพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
www.tourism.go.th, [5 มิถุนายน 2559].
อภิรมย์ พรหมจรรยา คมสัน รัชตพันธ์ และประภัสรา กิจไพบูลย์ทวี. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร :
กรณีศึกษาชุมชนเกาะมะพร้าว จังหวัดภูเก็ต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
หาดใหญ่. 2546.