ความต้องการข้อมูลข่าวสาร การเปิดรับสื่อ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน

Main Article Content

ปิติพงษ์ จันทร์เพ็ญสุข

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องความต้องการข้อมูลข่าวสาร การเปิดรับและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ระดับความต้องการเนื้อหาข่าวสารและความต้องการให้นาเสนอผ่านสื่อประเภทต่างๆ 2. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย 3. ระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 4. ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับความต้องการ การเปิดรับและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจานวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า ที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน
             ผลการวิจัยพบว่า 1. นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีความต้องการเนื้อหาข่าวสารด้านวัฒนธรรมไทยอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับมารยาทและข้อควรปฏิบัติในพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ รวมทั้งมารยาทเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ส่วนประเภทของสื่อที่ต้องการให้นาเสนอนั้นพบว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนมีความต้องการสื่อประเภทอินเทอร์เน็ต สื่อภาพยนตร์ เอกสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามลาดับ 2.การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสื่อที่นักท่องเที่ยวชาวจีนเปิดรับมากคือ ภาพยนตร์เรื่อง Lost In Thailand สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ และ กิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยตามลาดับ 3.การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยนั้นอยู่ในระดับปานกลางโดยที่การรับรู้เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติและมารยาทในการแสดงออกต่อบุคคลและสถาบันอันเป็นที่เคารพของคนไทยอยู่ในระดับมาก และ 4. ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ มีผลต่อความต้องการ การเปิดรับและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สังขกร และคณะ. “พฤติกรรมนักท่องเที่ยวจีนยุคใหม่ : กรณีศึกษานักท่องเที่ยวจีนในจังหวัด เชียงใหม่”. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2556.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. “แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559”. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559, จาก www.mots.go.th
กรุณา บุญมาเรือน. “ปัจจัยที่มีผลต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาว ต่างชาติ”. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเศรษฐศาสตร์. 2546.
กัลยกร ศุภธราธาร. “การวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 2548.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. “บทวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดต่างประเทศ”. กรุงเทพมหานคร: จุลสาร วิชาการอิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2550.
จุฑาภา ตาดพริ้ง. “การเปิดรับข่าวสารกับความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน และยุโรปตะวันตกที่มีต่อประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2546.
ฉลองศรี พิมลสมพงค์. “การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว”. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2548.
ชิดจันทร์ หังสสูต. “หลักและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว”. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง. 2532.
ทิพวรรณ พุ่มมณี. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคาแหง. 2550.
ธนกฤต สังข์เฉย. “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม. 2550.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. “การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS”. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วี.อินเตอร์ พริ้นท์. 2548.
น้าฝน จันทร์นวล. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามา ท่องเที่ยวในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด. 2556.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว”. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์. 2548.
ประสงค์ นิธินวกร. “พฤติกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน”. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2545.
ไพรัตน์ สุระศิรานนท์. “การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบแบ็คเพ็คเกอร์ต่อการเลือก ร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.
เลิศพร ภาระสกุล. “แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยว ชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย”. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2558.
แสงเดือน รตินธร. “ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจเลือก มาท่องเที่ยวในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 2555.
อรชน มณีสงฆ์ และคณะ. “การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยว ของจังหวัดเชียงใหม่”. วารสารวิทยาลัย บัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551. 1 (1), 96-106.
อัจฉรา สมบัตินันทนา. “พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ในประเทศไทย”.สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2555.
Engel, J. F., Blackwell, R. D., and Miniard, P. W. “Consumer Behavior”, (6thed.). Fort Worth: The Dryden Press. 1990.
Glenn, W. C. “Consumer Behavior: Theory and Practice”, (3thed.). Homewood, Lllionois: Richard D. Irwin. 1978.
Peter, P. J., and Olsen., J. C. “Consumer Behavior and Marketing Strategy”, (2nded.). Homewood, Lllionois: Richard D. Irwin. 1990.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. “Consumer Behavior”. New Jersey: Prentice-Hall. 1991.
Williams, T. G. “Consumer Behavior: Fundamentals and Strategies”, 1th, Paul, Minnesota: West Publishing. 1982.
www.oknation.nationtv.tv/blogblackcheepagornlok/2013/10/21/entry-1
www.news.thaipbs.or.th/content/252834
www.thairat.co.th/content/374004