บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และคณะ

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร: กรณีศึกษา เทศบาลตาบลบางทรายใหญ่ อาเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเทศบาลตาบลบางทรายใหญ่ในการจัดการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร ปัญหาและอุปสรรคของการดาเนินงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร อันนาไปสู่การจัดทาข้อเสนอแนะที่สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหารต่อไป โดยใช้แนวคาถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากเทศบาลตาบลบางทรายใหญ่ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นาชุมชน และประชาชนผู้มีส่วนได้ในตาบลบางทรายใหญ่ อาเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
             ผลการวิจัย พบว่า 1.บทบาทของเทศบาลตาบลบางทรายใหญ่ในการจัดการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหารในการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารเป็นไปภายใต้พระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพระราชบัญญัติเทศบาล ดังนั้นการขับเคลื่อนจึงเป็นไปในลักษณะของการเป็นคณะกรรมการเพื่อรับทราบแนวทางการดาเนินการ และเป็นผู้ประสานงานระหว่างองค์กรภาครัฐกับชุมชนในพื้นที่ของเทศบาลบางทรายใหญ่เท่านั้น
             2.ปัญหาและอุปสรรคของการดาเนินงานเพื่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร พบว่า มีปัญหาดังนี้ 1. ราคาที่ดินสูงขึ้น 2. เกิดโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และนามาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม โรค ความหลากหลายของกลุ่มคนที่นามาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ 3. ปัญหาความมั่นคง อาชญากรรม 4. ปัญหาด้านสาธารณะสุข 5. ปัญหาขยะ 6. การเปลี่ยนแปลงของผังเมือง 7. แผนขยายเศรษฐกิจของรัฐตามนโยบายยังไม่ชัดเจน 8. การสื่อสารด้านการต่างประเทศ และ 9. ภาคประชาชน ไม่ได้คานึงถึงผลกระทบ และไม่ตื่นตัวกับสิ่งที่กาลังเกิดขึ้น
              3.แนวทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร คือ ประเด็นด้านสาธารณะสุข เบื้องต้นเทศบาลตาบลบางทรายใหญ่สามารถดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ และประสานต่อไปยังสาธารณสุขจังหวัดเพื่อดาเนินการต่อ สาหรับประเด็นด้านสังคม 1. ปัญหายาเสพติด ต้องใช้ระยะเวลาในการดาเนินการเพื่อแก้ไข และต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างเทศบาล ประชาชนในพื้นที่ ตารวจ รวมถึงการปลูกฝังที่ดีจากครอบครัว 2. ปัญหาอุบัติเหตุและการจราจร การแก้ไขโดยอาศัยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจ แขวงการทาง สมาคมชาวไร่อ้อย 3. ปัญหาการเข้าเมืองของชาวต่างชาติในการเข้ามาใช้แรงงาน ต้องมีระบบในกาคัดกรองคนเข้าเมืองที่ต้องอาศัยระบบเทคโนโลยี และตารวจตรวจคนเข้าเมืองบูรณาการการทางานร่วมกับตารวจพื้นที่ ทหาร และผู้นาชุมชน 4. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ต้องเกิดจากการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุลชีพ ชินวรรโณ. โลกในศตวรรษที่ 21: กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557.
ชาติรส สัมมะวัฒนา. แต้มต่อการค้าชายแดนไทย: เขตเศรษฐกิจพิเศษ. ค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2559 จาก http://bts.dft.go.th/btsc/files/Documentanalysiselse/4.pdf
นรุตม์ เจริญศรี. ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. เชียงใหม่: บีบุ๊ก ก๊อปปี้ปรินซ์. 2559.
บูฆอรี ยีหมะ.การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550
วรเดช จันทรศร. ทฤษฎี การนานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค. 2552
วุฒิสาร ตันไชย. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: “รับ” และ “รุก” อย่างไรกับประชาคมอาเซียน.กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส. 2560.
สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. คู่มือการพัฒนาการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพัฒนาพิเศษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2559 จาก http://www.nesdb.go.th/esdps/data/2BOI%20book/1BOI-SEZ%20THbook%202015.pdf