การศึกษาหลักธรรมในการดำเนินชีวิตของประชากรเจนเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาหลักธรรมในการดำเนินชีวิตของประชากรเจอเนอเรชั่นวาย มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและวิธีการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตของประชากรเจอเนอเรชั่นวาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรกลุ่มเจอเนอเรชั่นวายที่กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มประชากรเจอเนอเรชั่นวายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 7.1.6 และ 28.4 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปีที่ 1 มากทีสุดดรองลงมาอยู่ในชั้น ปีที่ 2 และ 3 ร้อยละ 59.1,37.3 และ 3.6 ตามลำดับ และเรียนอยู่ในกลุ่มสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ใกล้เคียงกัน ร้อยละ 59.1 และ48.5 ในส่วนหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของกลุ่มประชากรเจอเนอเรชั่นวายพบว่า หลักธรรมที่ก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องมากที่สุด (อิทธิบาท 4) ร้อยละ 36.0 ต่อมาเป็นหลักธรรมสำหรับการรู้แจ้งเห็นจริง (อริยสัจ 4) ร้อยละ 23.8 และหลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนเอง (คุณธรรม 8 ประการ) ร้อยละ 7.7 สำหรับวิธีการใช้หลักธรรมพบว่า หลักธรรมที่ก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ (อิทธิบาท 4) สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยการพิจารณาแบบแยกส่วนแต่สามารถบูรณาการร่วมกันได้ การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาได้ การดำเนินชีวิตที่ช่วยจัดการกับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และเป็นเครื่องเตือนใจสำหรับมนุษย์ทุกคนที่เริ่มต้นจากตัวเอง อย่างไรก็ตามแม้ว่าความเจริญทางด้านวัตถุและการเข้ามาของเทคโนโลยีจะเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของกลุ่มประชากรเจอเนอเรชั่นวาย แต่ก็ยังมีหลักธรรมที่กุมพื้นที่ทางจิตใจที่สามารถให้ประชากรกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตร่วมอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
Article Details
References
เดชา เดชะวัฒนไพศาล และคณะ. “การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจอเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น”. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 2557. หน้า 1-17.
ราม เชื้อสถาปนศิริ. “ 7 พฤติกรรมการสื่อสารคนรุ่นวาย (7 is of Gen Y’s communication)”. วารสารเพื่อน ThaiPBS.
Bell, N.S., and Narz. M., “Meeting the challenges of age diversity in the workplace”. The CPA Journal.
(February 2007). pp. 56-59.
Glass, A., “Understanding generational differences for competitive success”. Industrial and Commercial
Training. (2007). pp.39. 2. 98-103.
Gelston, S., “Gen Y. Gen X and Baby Boomers: Generation Wars at Work”. CIO. (May 2007). p. 5.
Howe, N. & Strauss. W. Millennial Rising: The Next Great Generation. New York: Random House. 2000.
Hurst, J.L. & Good, L.K., “Generation Y and career choice: The impact of retail career perceptions.
expectations and entitlement perceptions”. Career Development International. (2009): pp.14. 6.570-593.
Reisenwitz, T. H. & Lyer. R., “Differences in generation X and generation Y: Implications for the organization
and marketers”. The Marketing Management Journal, (2009). pp.19. 2. 91-103.
Wong, M., Gardiner. E., Lang, W. and Coulon. L., “Generational differences in personality and motivation: Do
they exist and what are the implications for the workplace?”. Journal of Managerial Psychology.
(2008). pp.23. 8. 878-90.