การตัดสินใจเลือกองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

Main Article Content

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ

บทคัดย่อ

               การศึกษาเรื่อง การตัดสินใจเลือกองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาการตัดสินใจเลือกองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตของนักศึกษาฯ และศึกษาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจเลือกองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตของนักศึกษาฯ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 320 คนทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Chi-Square)


               ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 320 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิงร้อยละ 56.6 เพศชายร้อยละ 43.3 ชั้นปีที่กำลังศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 46.9 รองลงมาเป็นชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 30.6 และชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 22.5 สำหรับการตัดสินใจเลือกองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 91.6 รองลงมาตัดสินใจเลือกการมีครอบครัวที่อบอุ่นร้อยละ 47.2 ลำดับถัดมานักศึกษาตัดสินใจเลือกความสำเร็จในการทำงานร้อยละ 26.9 และลำดับสุดท้ายที่นักศึกษาตัดสินใจเลือกคือ หญิงสาว/ชายหนุ่มหน้าตาดี หล่อ/สวย ฉลาด (คู่ครอง) เพียงร้อยละ 2.5


                เมื่อพิจารณาตามคุณลักษะเพศและระดับชั้นปีที่กำลังศึกษาพบว่า การตัดสินใจเลือกในเรื่องการมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรค พบว่าเพศหญิงตัดสินใจเลือกมากกว่าเพศชายร้อยละ 56.3 การตัดสินใจเรื่องการมีอุปกรณ์สื่อสารทันสมัยพบว่าเพศชายตัดสินใจเลือกมากกว่าเพศหญิงร้อยละ 60.4 และในการตัดสินใจเลือกในส่วนอื่นๆจนถึงการมีครอบครัวอบอุ่นพบว่าเพศหญิงตัดสินใจเลือกมากกว่าเพศชาย ในส่วนของระดับชั้นปีที่กำลังศึกษาอยู่ข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 3 ตัดสินใจเลือกความสำเร็จในการเรียนน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 15.3 รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 20.8 และปีที่ 1 ร้อยละ 31.9 ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่าระดับชั้นปีที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นโรคและการมีบ้านอยู่อาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ลายแทงนักคิด. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย, 2555.
จันทร์ฉาย พิทักษ์ศิริกุล. ผลของการจัดโปรแกรมการฝึกการกล้าแสดงออกต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อัดสำเนา.2532.
จันทนา เริ่มสินธุ์และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่านิยมชีวิตของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ:การวิเคราะห์และประเมินพหุระดับ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที " 3ฉบับที " 5 มกราคม-มิถุนายน 2554.
พรพิมล เจียมนาคินทร์. พัฒนาการวัยรุ่น. ต้นอ้อ แกรมมี " กรุงเทพมหานคร, 2539.
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย (พ.ศ.2555 - 2569). เชียงใหม่, 2556.
มาฆะ ขิตตะสังคะและคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตวัยรุ่นไทยในวัยเรียนกับการจัดระเบียบสังคม:กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเชียงใหม่, 2546.
วีระพล สุวรรณนันต์. กระบวนการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประยูรวงศ์ จำกัด, 2533.
วารี เสือคง. พฤติกรรมการตัดสินใจของวัยรุ่นหญิงเมื"อเกิดการตังR ครรภ์ไม่พึงประสงค์. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548.
Astin, A.W. What matters in collage?. San Francisco: Jossey-Bass, 1993.
Gerald R. Adams, Thomas Gullotta. Adolescent Life Experiences. California : Brooks/Cole PublishingCompany, 1989.
James M. Henslin. Social Problems. Prentice Hall, Upper Saddle River, New Jersey, 1996.
Maslow, A.H. Motivation and Personality. 2nd ed. New York : Harper & Row Publishers, 1970.
O'Brien, E.J. Sex Differences in Components of Self-Esteem.Psychological Reports. 68 : 241-242; 1991.
Pascarella, E.T.; & Terenzini, P.T. How College Affects Students: Findings and Insights from Twenty Years of Research. San Francisco : Jossey-Bass, 1991.
Pope, Alice W.. Susan M. McHale and Edward Craighead. Self-Esteem Enhancement with Children and
Adolescents. Great Britain: Pergamon Press, 1988.
Simon, W.E. and M.G. Simon. Self-Esteem. Intelligence and Standardised AcademicAchievement.Psychology in the Schools. 12: 97-99, 1975.
Weidman, J.C.; Twale. D.J.; & Stein, E.L. Socialization of Graduate and Professional Students in Higher
Education: A Perilous Passage?. San Francisco: Jossey-Bass, 2001.