การจัดการความรู้เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

บุษกร วัฒนบุตร

บทคัดย่อ

การจัดการความรู้เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นบทความวิชาการที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอความสำคัญของการจัดการความรู้ 1) การสำรวจความรู้ภายในองค์กร 2) การวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและจัดเก็บ 3) การพัฒนาความรู้ 4) การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) หรือการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) เพื่อก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หรือชื่อย่อว่า LO เป็นรูปแบบการบริหารรูปแบบใหม่ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนนับตั้งแต่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือที่มีชื่อว่า “The Five Disciplines: the Art and Practice of the Learning Organization.” ของปีเตอร์ เซ็นเก้ (Peter M. Senge) ออกสู่สาธารณะ โดยองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นรูปแบบการบริหารที่มุ่งเน้นพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และความสามารถของบุคลากรโดยสร้างบรรยากาศของการสนับสนุน ส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างงานและการบรรลุเป้าหมายแห่งงานนั้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. องค์การแห่งการเรียนรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:รัตนไตร, 2548.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. การจัดการความรู้....จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:บริษัท จิรวัฒน์เอ๊กซ์เพรส จำกัด, 2548.
ประเวศ วะสี. การจัดการความรู้:กระบวนการปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ, 2550.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. การจัดการความรู้:พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ (KnowledgeManagement). กรุงเทพมหานคร: ธรรมกมลการพิมพ์การพิมพ์. 2547.
พสุ เดชะรินทร์. กลยุทธ์ใหม่ในการจัดการ: Retooling :The New Strategy. กรุงเทพมหานคร:ฮาซันพริ้นท์ติ้ง, 2546.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. การจัดการความรู้:พื้นaฐานและการประยุกต์ใช้ (KnowledgeManagement). กรุงเทพมหานคร: ธรรมกมลการพิมพ์, 2547.
ภราดร จินดาวศ์. การจัดการความรู้ KM Knowledge management the experience. กรุงเทพมหานคร: ซีดับบลิวซี พริ้นติ้ง, 2549.
วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชัน" . 2545.
วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ,2551.
วิจารณ์ พานิช. ความรู้ยุคใหม่อยู่ใน “คน” มากกว่า “ตำรา” สารสานปฏิรูป: ธันวาคม 2547
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,การจัดการความรู้...จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: บริษัทจีรวัฒน์เอ็กซ์เพรส จำกัด, 2548.
Cliff Figallo and JancyRhine. Building the Knowledge Management Network: BestPractices,Tools and Techniques for Putting Conversation to Work. NewYork : Wiley Technology Publishing, 2002.
Clyde W. Holsapple. Handbook on Knowledge Management 1 Knowledge Matters.Berlin: Springer-Verlag Berlin, 2003.
Chum Wei Choo. Working Knowledge: How Organizations Manage What They Know. Congress of Southeast Asian Librarians7-9, 35 (April 2000).
GardonPetrash. “Strategy: CompellingvWord,complexConcept” in Knowledge Management: Classic and Contemporary Works. Morey Daryl etal. London: The MIT Press, 2001.
IkujiroNonaka. A Dynamic Theory of Organization Knowledge Creation. Organization Science 5,1,1994.
M. Marquardt. Building the Learning Organization. New York: MxFeW – Hill, 1996.