การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุกัญญาณัฏฐ อบสิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกระบวนการและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 เพื่อนำเสนอการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่างโดยบูรณาการตามหลักพุทธธรรม การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง จากประชากร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนทั้งสิ้น 2,199,250 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง คือ ปัจจัยด้านจิตวิทยาการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะการมรส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ความสนใจทางการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง ค่านิยมทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมือง 2) การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่างโดยบูรณาการตามหลักพุทธธรรม คือ กิจกรรมที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมทางการเมือง เป็นต้นว่าการเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกันทางการเมือง การมีความพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันบ้านเมือง การยึดมั่นในหลักและอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Nie, N. H., & Verba, S. “Political Participation”, In Handbook of Political Science, Fred I. Greenstein and Nelson Polsby (eds.), Readings, Mass: Addison Wesley, 1975: 9-12.

เกวลี ศรีหะมงคล, “ธรรมนูญหมู่บ้านเรื่องการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาหมู่บ้านเสียงแคน อําเภอดอกคูณ จังหวัดนครพนม”, รายงานวิจัย, (กรุงเทพมหานคร : สํานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 2555).

คณะกรรมการการเลือกตั้ง, สำนักงาน, ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2548).

จารุวรรณ แก้วมะโน, “การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมชุมชนพลเมืองเข้มแข็งผ่านการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง”, รายงานวิจัย, (กรุงเทพมหานคร : สํานักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า, 2561).

ณรงค์ เส็งประชา, มนุษย์กับสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2538),

ปวริศร เลิศธรรมเทวี, “ระบอบการปกครอง ระบบกฎหมาย และรัฐธรรมนูญของอังกฤษ: บ่อเกิดแห่งประเพณีทางรัฐธรรมนูญ”, รัฐสภาสาร, ปีที่ 66 ฉบับที่ 5 เดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2561, หน้า 9-56.

ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเรื่องการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดและกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด, (กรุงเทพมหานคร : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 28 ง, 2552), หน้า 35.

วิทยา จิตนุพงศ์, “ความมั่นคงทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา”, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562), หน้า 280-287.

สมพันธ เตชะอธิก. ทรงพล ตุละทา และ วินัย วงศอาสา. “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองในการออกเสียงประชามติและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎร 2550 : จังหวัดขอนแกน”. รายงานวิจัย. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน โดยการสนับสนุนของสถาบันพระปกเกลา, 2553.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก 6 เมษายน 2560).

สุไรยา หนิเร่ และ สุรชัย (ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตร, “มุมมองประชาชนต่อนโยบายภาครัฐที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษา“ทุ่งยางแดงโมเดล”, รายงานวิจัยชุมชน, (กรุงเทพมหานคร : สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า, 256 1).