การพัฒนาเครือข่ายองค์กรส่งเสริมสุขภาพในการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พัฒนภาณุ ทูลธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเครือข่ายองค์กรส่งเสริมสุขภาพในการเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุตำบลพลายชุมพล” มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานขององค์กรสุขภาพด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และ 2) เพื่อบูรณาการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุโดยเครือข่ายองค์กรสุขภาพในพื้นที่  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการดำเนินงานวิจัยที่สำคัญคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้วิธีการการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 


การวิจัยนี้มีข้อค้นพบที่สำคัญ คือ เครือข่ายองค์กรส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลพลายชุมพลเผชิญกับปัญหา อุปสรรค และความท้าทายในการดำเนินงานคือ การเดินทางของผู้สูงอายุ การทำงาน ภาระการเลี้ยงดูลูกหลาน ปัญหาสุขภาพ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่ติดบ้าน การขาดการประเมินความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุในบางกิจกรรม ทั้งนี้กิจกรรมครอบคลุมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 7 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดของตำบล ยังขาดการมีส่วนร่วมทำให้ไม่สามารถส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานบูรณาการกิจกรรมต่อยอดสู่การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนประจำปีงบประมาณ 2563 ได้ชุดกิจกรรมกว่า 30 กิจกรรม ครอบคลุมมิติสุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพทางสังคม สุขภาพทางจิตวิญญาณ สุขภาพทางเศรษฐกิจและภูมิปัญญา และสุขภาพทางสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรส่งเสริมสุขภาพทั้งภายในและภายนอกชุมชน ข้อเสนอแนะในการออกแบบกิจกรรมคือ ควรมีกิจกรรมลักษณะที่ออกแบบเพื่อทุกคน  (Universal Design) ทั้งด้านภาษา การสื่อสาร เทคโนโลยี การค้นหาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุตำบลพลายชุมพลอย่างยั่งยืน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิณวัตร จันครา และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา, “ผลของโปรแกรมการจัดกิจกรรมตาม แนวคิดมอนเตสซอรี่ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ”, วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 2559 27(1).

ชลาลัย วงศ์อารีย์, “แนวทางการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ”, วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2561 12(พิเศษ): 169-184.

นิตยา ทวีชีพ, “ความต้องการการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุในตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2562 16(2): 213-222.

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ, พธู รำไพประภัสสร และวรางคณา จันทร์คง, “รูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายชุมชนในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ”, วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 2560 10(พิเศษ): 179-199.

เพ็งศรี, กฤษณพันธ์, โลหิตวิเศษ, สนอง, บุญประกอบ และมนัส, “รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุ”, วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 2558 7(2).

พระเศวตฉัตร กิตฺติ ปญฺโญ, สมบูรณ์ บุญฤทธิ์ และลัญจกร นิลกาญจน์, “การจัดกิจกรรมส่งเสริม คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช”, วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 2561 3(1): 34-44.

มัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล, “รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร”, วารสารสักทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2558 21(3): 86-96.

วีรณัฐ โรจนประภา, “แนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครตามแนวทางประเทศไทย 4.0”, วารสารมจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 2560 6(2-03): 765-778.

ศรุดา ศรีสว่าง, “แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี”, รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติด้านการศึกษา, 2558 3(6): 418-427.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.ลักษณะทางสุขภาพและสังคมของผู้สูงอายุ. กรุงเทพ ฯ : กระทรวงสาธารณสุข, 2553.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานศักยภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 60-89 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2556.

Suthamchai, B., Keskpichayawattana, J., & Kaeowichian, N, “A Synthesis of Integrated Care Service Model for Thai Elderly”, Journal of Health Science, 2015: 1017-1029.

Whangmahaporn, P., Phromsathit, S., Wangtepanukroh, N., Siriburana, S., Kijmanawat, Y., & Wachum, W, “Factors Affecting the Operation of Center for Quality of Life Development and Career Promotion for the Elderly in Thailand”, Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, 2019 8(1).