พุทธบูรณาการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธล้านนา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 3) เพื่อบูรณาการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธล้านนาด้วยหลักพุทธธรรม 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ รูปแบบบูรณาการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธล้านนาด้วยพุทธธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จำนวน 32 รูป/คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- อัตลักษณ์ชุมชนชาวพุทธในล้านนาสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ชาวพุทธล้านนาที่เป็นวิถีคนพื้นเมือง ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่ฮ้อยเงิน จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนบ้านพลาลัยเกษม จังหวัดเชียงราย ชุมชนบ้านหนองเต่า จังหวัดน่าน ชุมชนบ้านร่องคือ จังหวัดพะเยา และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อพยพมาอยู่ในล้านนา ได้แก่ ชุมชนบ้านห้วยต้ม (ปกากะญอ) จังหวัดลำพูน ชุมชนบ้านทุ่งกองมู (ไทใหญ่) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านหัวฝาย (ไทลื้อ) จังหวัดลำปาง ชุมชนบ้านทุ่งโฮ้งใต้ (ไทยพวน) จังหวัดแพร่ ทั้งนี้ ชุมชนชาวพุทธทุกชุมชนมีอัตลักษณ์เฉพาะตน ไม่ว่าจะเป็น ภาษา อาหาร การแต่งกาย และมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความโดดเด่นเฉพาะ
- หลักพุทธธรรมเพื่อการเสริมสร้างอัตลักษณ์ชาวพุทธในล้านนา โดยแบ่งกลุ่มหลักพุทธธรรมออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ด้านคติธรรม มีศรัทธา 4 ด้านเนติธรรม มีหลักศีล 5 ด้านวัตถุธรรม มงคลสูตร (มงคลชีวิต) ข้อที่ 8 การมีศิลปะ ด้านสหธรรม มงคลสูตร (มงคลชีวิต) ข้อที่ 22 ความเคารพ ข้อที่ 23 ความนอบน้อม และ หลักทิศ 6 ในสิงคาลกสูตร
- การเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธล้านนาด้วยหลักพุทธธรรม สามารถสรุปได้ว่า มีการเสริมสร้างด้วยกัน 2 ส่วน คือ ชาวพุทธในล้านนาได้มีความตระหนักรู้ในพุทธธรรมหลักธรรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติตนในฐานะเป็นชาวพุทธ และชาวพุทธล้านนาตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่เกิดผลประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต นอกจากการตระหนักรู้ในคุณค่าต่อตนเองแล้วยัง รักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อีกด้วย
- รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนชาวพุทธล้านนา สรุปองค์ความรู้ได้เป็น Re-Kment Model ซึ่งประกอบด้วย Kammic Confidence ความเชื่อในกรรม บนพื้นฐานของ Norm จารีต Tradition ประเพณี ที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ชุมชน การดำเนินชีวิตของคนชุมชนในทุกมิติจะประกอบด้วย Meaningfulness มีปริศนาธรรมที่แฝงไปด้วยคติธรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ อยู่บนพื้นฐานของ Respectation ความเคารพ ต่อทุกสรรพสิ่งไม่ว่าจะเป็นคนหรือวัตถุที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต จึงทำให้อัตลักษณ์ของชุมชนชาวพุทธล้านนาเข้มแข็งและได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่ : ศูนย์สตรีศึกษา
คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
ทิดกร สอนภาษา. “ภาษาไทย, ขัดใจปู่: เอกลักษณ์-อัตลักษณ์”. คมชัดลึก City life. ฉบับที่ 445.
23 มิ.ย. 2551.
ธนภร วงศกรฉัตร. “ศึกษาวิเคราะห์ปุรัตถิมทิสในพุทธปรัชญาเถรวาท”. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561.
นิศรกร รพีพัฒน์. “การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางสังคมของคนในชุมชนแออัด : กรณีศึกษาชุมชน
หัวฝาย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2550.
บุพผา กาหลง, มงคลสูตรกับการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคม, หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาไทยศึกษา. บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2552.
พระครูสมุห์วิโรจน์ คุณวีโร (ตันบริบูรณ์). การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของพระสงฆ์. วารสาร
ศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (กันยายน-พฤศจิกายน 2563) หน้า 567.
พระมหาพิเชษฎ์ จตฺตมโล. การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักคำสอนในมงคลสูตร.
วารสารพุทธมัคค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, หน้า 19-24.
พระสุพัฒน์ อนาลโย. การส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของบุคคลในครอบครัวไทยตามหลักทิศ 6 ใน
พระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-
ธันวาคม 2563.
พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์. สืบชะตาล้านนา : แนวคิดและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ทางสังคมและจิต
วิญญาณของชุมชนในล้านนา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตแพร่ สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 2557.
วรินรดา พันธ์น้อย. “การดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของประชาชนใน
สังคมพหุวัฒนธรรม : การศึกษาชุมชนบุ่งกะแทว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2552.
อาภากร ปัญโญ. “การดำรงอัตลักษณ์ชุมชนศีล 5 ด้วยการจัดทำธรรมนูญชีวิตแบบมีส่วนร่วม :
กรณีศึกษาชุมชนห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย
: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.
อำพล บุดดาสาร และวัชระ งามจิตรเจริญ. การประยุกต์หลักมงคล 38 ประการในการดำเนินชีวิต
ของชาวพุทธในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ.
คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
ทิดกร สอนภาษา. “ภาษาไทย, ขัดใจปู่: เอกลักษณ์-อัตลักษณ์”. คมชัดลึก City life. ฉบับที่ 445.
23 มิ.ย. 2551.
ธนภร วงศกรฉัตร. “ศึกษาวิเคราะห์ปุรัตถิมทิสในพุทธปรัชญาเถรวาท”. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561.
นิศรกร รพีพัฒน์. “การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางสังคมของคนในชุมชนแออัด : กรณีศึกษาชุมชน
หัวฝาย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2550.
บุพผา กาหลง, มงคลสูตรกับการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคม, หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาไทยศึกษา. บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2552.
พระครูสมุห์วิโรจน์ คุณวีโร (ตันบริบูรณ์). การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของพระสงฆ์. วารสาร
ศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (กันยายน-พฤศจิกายน 2563) หน้า 567.
พระมหาพิเชษฎ์ จตฺตมโล. การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักคำสอนในมงคลสูตร.
วารสารพุทธมัคค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, หน้า 19-24.
พระสุพัฒน์ อนาลโย. การส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของบุคคลในครอบครัวไทยตามหลักทิศ 6 ใน
พระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-
ธันวาคม 2563.
พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์. สืบชะตาล้านนา : แนวคิดและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ทางสังคมและจิต
วิญญาณของชุมชนในล้านนา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตแพร่ สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 2557.
วรินรดา พันธ์น้อย. “การดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของประชาชนใน
สังคมพหุวัฒนธรรม : การศึกษาชุมชนบุ่งกะแทว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2552.
อาภากร ปัญโญ. “การดำรงอัตลักษณ์ชุมชนศีล 5 ด้วยการจัดทำธรรมนูญชีวิตแบบมีส่วนร่วม :
กรณีศึกษาชุมชนห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย
: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.
อำพล บุดดาสาร และวัชระ งามจิตรเจริญ. การประยุกต์หลักมงคล 38 ประการในการดำเนินชีวิต
ของชาวพุทธในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ.