การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดแพร่ 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดแพร่ และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดแพร่ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงประมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน ที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดแพร่ จำนวน 400 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา และ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จำนวน 17 รูปหรือคน วิเคราะห์ขอมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมอยู่ระดับมาก 2) การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่น มีความเสียสละ ทั้งแรงกาย แรงใจ สร้างอาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ที่มีวจีไพเราะ น่าเชื่อถือ มีความเป็นกันเองกับประชาชน กระทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม มีจิตอาสา และมีความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เลือกปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วุฒิสาร ตันไชย. (2548). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และฉัตราพร เสมอใจ. (2547). การจัดการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด.
สำนักวิชาการและสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านอื่นๆ. การเสริมสร้างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารประเทศและประชาชน.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธนสรร ธรรมสอนและบุญทัน ดอกไธสง. (2558). “ภาวะผู้นำทางการเมืองของนายกเทศมนตรีในการบริหารเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน”.วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ, 10(1), 171-190.
พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2564). “การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา”. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6 (1), 132-140.
สถาพร ศรีเพียวไทย และคณะ. (2560). “แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของสมาชิกสภาเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว”. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 1(2), 11-23.
วรยุทธ สถาปนาศุภกุล. “คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 145-153.
นคร วิชัยผิน, (2548). “การใช้สังคหวัตถุ 4 ในชีวิตประจำวันของผู้นำครอบครัว”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยญาณสังวร : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
สงุ่น ตรีสุขี, (2559). การบูรณาการหลักสังคหวัตถุกับการบริหารการประปานครหลวง ภาค 1. พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.