อัตลักษณ์การสื่อสารที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
Main Article Content
บทคัดย่อ
อัตลักษณ์การสื่อสารที่ปรากฏในพระไตรปิฎก มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและความเป็นมาของหลักการสื่อสารในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การสื่อสารในพระไตรปิฎก ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์นำไปสู่กระบวนการสังเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงแนวคิดและความเป็นมาหลักการสื่อสารในพระไตรปิฎกและอัตลักษณ์การสื่อสารในพระไตรปิฎก
ผลการศึกษาอัตลักษณ์การสื่อสารที่ปรากฏในพระไตรปิฎก พบว่า การสื่อสาร ตรงกับคำว่า “นิเทศ” แนวคิดการสื่อสารในพระไตรปิฎก มี 3 ลักษณะ คือ (1) การสื่อสารเพื่อประสานประโยชน์ (2) การสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล (3) การสื่อสารเพื่อสังคมและวัฒนธรรม การสื่อสารในพระไตรปิฎก จำแนกออกได้ ๒ ระดับ คือ (1) ในระดับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (2) ในระดับกระบวนการทางพระพุทธศาสนา หลักการสื่อสาร มี ๔ ประการ คือ (1) การสื่อสารต่อบุคคล (2) การสื่อสารต่อการบริหารปกครองรัฐ (3) การสื่อสารต่อลัทธิศาสนาอื่น (4) การสื่อสารต่อกลุ่มชนชั้นในสังคม ในด้านอัตลักษณ์กระบวนการสื่อสารในพระไตรปิฎก จำแนกออกตามหลักการสื่อสาร ได้ 4 ประการ ดังนี้ (1) อัตลักษณ์ของสาร ประกอบด้วย สารภายใต้บริบทด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมืองการปกครอง (2) อัตลักษณ์ของผู้ส่งสาร 5 ประการ คือ คุณสมบัติผู้สอน หลักทั่วไปในการสอน ลีลาการสอน 4 อย่าง วิธีสอนแบบต่าง ๆ 4 วิธี กลวิธีและอุบายประกอบการสอน 10 ประการ (3) อัตลักษณ์ของผู้รับสาร 5 ประการ คือ ไม่นึกดูหมิ่นในเรื่องที่เขาพูด ไม่นึกหมิ่นผู้พูด ไม่นึกหมิ่นตัวเอง ใจไม่ฟุ้งซ่าน และ มนสิการโดยแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ (4) อัตลักษณ์ของช่องทางสื่อสาร มีอยู่ 3 ช่องทาง คือ ช่องทางสื่อสารที่เป็นสื่อบุคคลในแบบมุขปาฐะช่องทางสื่อสารที่เป็นสื่อสังคมวัฒนธรรม และ ช่องทางสื่อสารที่เป็นสื่อการเมืองการปกครอง
Article Details
References
เธียรชัย อิศรเดช. “อัตลักษณ์กับสื่อ: ตัวตนการสื่อสาร”. บทความวิชาการ. นิเทศศาสตรปริทัศน์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต, 2552.
บุญเลิศ โอฐส และคณะ. การใช้สื่อและอุปกรณ์ในการสื่อสารของพระพุทธเจ้า. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). สยามสามไตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย, 2552.
พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร. “หลักคำสอนเชิงนิเทศศาสตร์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.
วศิน อินทสระ. พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมดา, 2545.
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, ธรรมแห่งอริยะ, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามรัฐ, 2537.