การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของวัดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พระครูปลัดเถรานุวัฒน์ ดีเยี่ยม

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของวัดผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่พัฒนาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้เกิดความคุ้มค่า โดยไม่เป็นการทำลายทรัพยากรเหล่านั้น แต่ในปัจจุบันพบว่าการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ยังขาดจุดเด่นของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ขาดความเข้าใจในด้านข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ขาดกระบวนการในด้านความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้ไม่เกิดความน่าสนใจ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวอีก


ดังนั้น จากการศึกษาพบว่า การทำให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเกิดความน่าสนใจ ต้องเริ่มตั้งแต่การขับเคลื่อน “วัด” เนื่องจากวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ทั้งเรื่อง ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ แต่วัดไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมได้เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมแบบบูรณาการร่วมกัน จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตามหลักของ “บวร+อ” บ้าน วัด โรงเรียน/หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในรูปแบบของคณะกรรมการร่วมกันพัฒนา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาในด้านต่าง ๆ คือ  1) ด้านกายภาพ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม 4) ด้านสังคม วัฒนธรรม 5) ด้านเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวที่พอดี ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่จะทำให้การท่องเที่ยวเกิดความยั่งยืนประกอบกับยังคงรักษาวัฒนธรรมแก่คนรุ่นหลัง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญ
ในมิติทางศาสนา ปี 2557. (กรุงเทพฯ:สำนักงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวง
วัฒนธรรม.2557).
กิตติกรณ์ สมยศ,ราชาวดีสุขภิรมย์และสไบทิพย์อินไสย. การวิจัยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
อย่างมีส่วนร่วม ในชุมชนตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. รายงานการวิจัยวิทยาลัยชุมชน
น่าน สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.2558.
จุฑามาศ คงสวัสดิ์. การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองโบราณอู่ทอง สุพรรณบุรี.
(วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.2550.
มัชฌิมา อุดมศิลป์. (ตุลาคม-ธันวาคม 2556). แนวทาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ของชุมชนคลองโคนจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาบริการ. 24 (4):135-149. ออนไลน์ .สืบค้น
20 กรกฎาคม 2563.จาก: http://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/13/11
สำนักเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.โครงการทิศทางการพัฒนาท่องเที่ยวของประเทศไทยในระยะ 10 ปี.
ออนไลน์.ค้นหาข้อมูล 21 กรกฎาคม 2563. จาก
https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/article_attach/02FinalReportDirection
10Year.pdf.
อารีย์ นัยพินิจ และคณะ. การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์.
(วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 2554).
Coltmann,M.M.(1989).Introduction to Travel and Tourism: An international approach.
New York, USA:Van Nostrand Reinhold.
L.Robert,&D.Hall, Rural tourism and recreation: principle to practice (London: UK,2001),อ้าง
ถึงใน พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์,
Tirakananta, S. Methodology in Social Science Research (10th ed.).(Bangkok: Chulalongkorn
University Press.2012).การท่องเที่ยวชุมชน, พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เดียนสโตร์,2553).
World Tourism Organization (UNWTO).ออนไลน์.ค้นหาข้อมูล 21 กรกฎาคม 2563. จาก:
http://osthailand.nic.go.th/files/policy_sector/File_Download/Tourism_Analysis.pdf