ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนของเยาวชน

Main Article Content

Ms.Xiaoyan Huang
เกียรติ บุญยโพ
วิโรชน์ หมื่นเทพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยจูงใจในการการพัฒนาทักษะภาษาจีนของเยาวชน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับของปัจจัยจูงใจในการการพัฒนาทักษะภาษาจีนของเยาวชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนของเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีพื้นที่ศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม   ประชากร ได้แก่ กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมปลาย จำนวน 108 คน  โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 64 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)  และใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือในการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสมพันธ์เพียร์สัน Independent sample t- test และ One Way ANOVA (F-Test)  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของปัจจัยจูงใจในการการพัฒนาทักษะภาษาจีนของเยาวชน  นักเรียนมีความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนสำหรับเยาวชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เท่ากับ 4.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน 2) เปรียบเทียบระดับของปัจจัยจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนของเยาวชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าความคิดเห็นของนักเรียนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนสำหรับเยาวชนของนักเรียนสายภาษาจีน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนนักเรียนที่มีอายุ ระดับชั้นปี ที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนสำหรับเยาวชนของนักเรียนสายภาษาจีนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ และ 3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจูงใจในการพัฒนาทักษะภาษาจีนสำหรับเยาวชนในโรงเรียน พบว่าครูผู้สอนไม่เพียงพอ มักใช้ระบบพี่สอนน้อง ครูขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ขาดประสบการณ์ไม่สามารถประยุกต์ใช้กับสภาพจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกตมาตุ ดวงมณี. (2549). ภาษาจีนสำคัญจริงหรือในโลกยุคโลกาภิวัตน์. วารสารดวงแก้ว, 11(2), 127-129.

ทัศน์ธนิต ทองแดง. (2559). การวิจัยในชั้นเรียน: การสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อปัญหาการเขียนเรียงความภาษาจีนและการหาแหล่ง ความรู้เพื่อแก้ปัญหา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 212-225.

นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์). 23(1). 93-134.

นิศากร ประคองชาติ. (2555). การใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐบาลชั้นปีที่ 1. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(1), 59-76.

วรทา รุ่งบานจิต วราลี รุ่งบานจิต วรนาถ แซ่เซ่น วรากร แซ่พุ่น และภากร นพฤทธิ์ (2559) .แรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิชชุดา โรจนสวัสดิ์วงศ์. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านตัวอักษรจีนโดยใช้ตัวกำกับเสียงแบบสัทอักษร pinyin ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ.

ศิวนนท์ นิลพาณิชย์. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 1-12.

หทัย ดาวสดใส และ จันทร์ทรงกลด คชเสนี. (2554). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(3), 90-99.

Gibbs, G. and Jenkins, A. (1992) Teaching Large Classes in Higher Education: How to Maintain Quality with Reduced Resources. Kogan Page, London. pp: 50-54.