การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อรัญญา ทิพย์ชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ผลกระทบที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกและหาแนวทางแก้ไขโรคไข้เลือดออกขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ 2) แนวทางการบริหารจัดการโรคไข้เลือดขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ  3) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเฝ้าระวังการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ประชาชน 3 หมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกมั่งงอย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย ผู้แทนประชาชนในตำบลโคกมั่งงอย จำนวน 327 คน และกลุ่มตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข 13 หมู่บ้านในตำบลโคกมั่งงอย สนทนากลุ่ม จำนวน 13 คน ได้จากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การเขียนเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา  


        ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลกระทบที่เกิดจากโรคไข้เลือดออกและหาแนวทางแก้ไขโรคไข้เลือดออกขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ผลกระทบเกิดการขาดรายได้และแรงงานในครัวเรือน ทำให้เสียเวลาในการประกอบอาชีพ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา 2) แนวทางการบริหารจัดการโรคไข้เลือดออก พบว่า ด้านบุคลากรและด้านการบริหารจัดการเฝ้าระวัง ควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โดยลงพื้นที่กระจายข่าวให้คนในชุมชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ลูกน้ำยุงลายให้กำจัดอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดการข้อมูล ควรให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ประเมินความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของลูกน้ำยุงลาย ด้านงบประมาณและด้านวัสดุอุปกรณ์ ควรให้ภาครัฐสนับสนุนเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกัน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้     3) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเฝ้าระวังการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีการใช้สมุนไพรพวกตะไคร้หอม หั่นตากแดดวางไว้บริเวณมุมบ้านที่เป็นมุมอับ ป้องกันยุง และใช้ลูกมะกรูดคลึงใส่ไว้ในอ่างน้ำ เพื่อป้องกันยุงมาวางไข่ คนในชุมชนมีส่วนร่วมช่วยกันทำความสะอาดภายในชุมชน บ้านเรือนของตนเอง เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฤทัย สมบัติสวัสดิ์, “การประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยเครือข่ายชุมชน
ภาคอีสาน”, มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2560): 117-131.
วชิระ บถพิบูลย์. สสจ.เตือนไข้เลือดออกระบาดหนัก เร่งกวาดล้างทำลายลูกน้ำ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://siamrath.co.th/n/161669 [30 มิถุนายน 2563].
สัมภาษณ์ ทัศนีย์ เฉลิมเหล่า, อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านหนองโน หมู่ที่ 4 ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์
จังหวัดชัยภูมิ. 24 กุมภาพันธ์ 2564.
สัมภาษณ์ ประเกียรติ คำหว่าน, อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านโคกมั่งงอย หมู่ที่ 2 ตำบลโคกมั่งงอย
อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ, 24 กุมภาพันธ์ 2564.
สัมภาษณ์ ปิยาภรณ์ สะหาย, อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านสระแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์
จังหวัดชัยภูมิ, 24 กุมภาพันธ์ 2564.
สัมภาษณ์ สุคม มูลกะศก, ผู้ใหญ่บ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 9 ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ,
24 กุมภาพันธ์ 2564.
สัมภาษณ์ อุทัยพร สนิทไทย, ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านหนองแดงน้อย หมู่ที่ 13 ตำบลโคกมั่งงอย
อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ, 24 กุมภาพันธ์ 2564.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และ
สาธารณสุข ปี พ.ศ.2558. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์: กรมควบคุมโรค, 2558.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://nont-pro.go.th/public/news_upload/backend/files_306_1.pdf [30 มิถุนายน 2563].
เสกสรรค์ สองจันทร์, “การสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : กรณีศึกษาที่ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี”, วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 16 ฉบับที่ 6 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2554): 730-731.
เอกปกรณ์ นามคุณ. “การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยใช้กระบวนการเทียบรอยในชุมชน
มะชมโนนสง่า ตำบลภารแอ่น อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม”.
ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2559.
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมั่งงอย. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://kokmungngoi.go.th [25 กรกฎาคม 2563].
อรทัย ก๊กผล. คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์, 2552.
Parsons. Economy and Society : A Study in the Integration of Economic and Social Theory.
London: Routledge & Kegan Paul,1984.
Peter M. Blau and W. Richard Scott, “Formal Organization A Comparative Approach”, Social forces,
Vol 41 No.1: 84-85.