แนวทางการบรรเทาความยากจนตามวิถีพุทธ

Main Article Content

พระอธิการสุชาติ จนฺทสโร (สายโรจน์)
จีรศักดิ์ ปันลำ
ดิลก บุญอิ่ม

บทคัดย่อ

ความยากจน คือ สภาพความเป็นอยู่ของบุคคลที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ไม่สามารถรักษาความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานที่สังคมกำหนด สาเหตุของความยากจนในปัจเจกบุคคลคือ: ๑) ปัญหาต้นทุนการผลิต การขาดแคลนที่ดินทำกิน รวมทั้งต้นทุนการผลิตอื่นๆ ที่มีราคาแพง ทำให้เกิดภาระหนี้สิน และความไม่รู้ช่องทางการจำหน่าย ๒) ขาดความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ จึงไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏจักรความยากจนได้ด้วยตนเอง ๓) วิถีชีวิตของปัจเจกบุคคล ขาดศีลธรรม คุณธรรม ติดอบายมุข ยาเสพติด และใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในชีวิต และ ๔) การว่างงานอันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การพัฒนาตนเองให้พร้อมทำงานเพื่อบรรเทาความยากจน ต้องมีอธิฏฐานธรรม ๔ คือธรรมที่มาเป็นฐานความคิดและการปฏิบัติเพื่อให้กระชับ ตรงประเด็น และช่วยควบคุมความคิดไม่ให้ออกนอกวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งใจไว้ ได้แก่ ๑) ปัญญา รู้ในสิ่งที่ตนเองควรรู้ เริ่มด้วยการวิเคราะห์ภาวะความยากจน วิเคราะห์ปัญหาความยากจนจากปัจจัยที่สำคัญมากก่อน แล้วจึงพิจารณาตรวจสอบความรู้ ความสามารถ และทักษะของตนเอง แล้วจึงวางแผนการทำงาน ๒) สัจจธรรม : ความจริงใจคือ ประพฤติสิ่งใดก็สำเร็จจริง โดยไม่ละทิ้งงาน ก่อนที่งานจะสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ๓.จาคะ: การเสียสละสิ่งที่เป็นศัตรูต่อความจริงใจคือ: ความอบายมุขต่างๆ และละทิ้งความเย่อหยิ่งและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ๔) อุปาสมะ จิตสงบจากข้าศึกของความสงบ โดยการฝึกสมาธิให้จิตสงบจากอบายมุขและความหลง การปฏิบัติตามแนวอธิฐานธรรม ๔ ให้มีสัมพันธภาพเกื้อกูลกันตามลำดับจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรเทาความยากจนได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

คณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา. คณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน. ม.ป.พ., ๒๕๔๕.

คณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา. คณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาความยากจนของ ประชาชน. ม.ป.พ, ๒๕๔๕.

คมเดือน เจิดจรัสฟ้า. คุณธรรมในสามก๊ก. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว, ๒๕๕๐.

ชวนพิศ ทองทวี. จิตวิทยาการศึกษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท, ๒๕๒๒.

ทองหล่อ วงษ์อินทร์. จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยครู เพชรบุรี, ๒๕๒๓.

บุญเรือง อินทวรันต์. จริยธรรมกับชีวิต. นครสวรรค์: แสงศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๔.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัล ฐิตธมฺโม). หลักประกันชีวิตทุกลมหายใจใช้เวลาให้เป็นประโยชน์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๔๘.

พระเทพเวที (ประยุตธ์ ปยุตฺโต). ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๖.

พรทิพย์ ชูศักดิ์. พุทธศาสน์. นครสวรรค์ : แสงศิลป์การพิมพ์, ๒๕๓๖.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. จิตวิทยาการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๔๕.

วิทยากร เชียงกูล. พัฒนาการแบบยั่งยืนกับการแก้ปัญหาคนจน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด, ๒๕๔๗.

เสถียร วรรณปก, นิทานมงคลธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๔๙.

อภิชัย พันธเสน. “วิกฤตการณ์ความยากจนและทางออก”. ใน กลียุคกับหายนะเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๐.

กันต์กนิษฐ์ เกษมพงษ์ทองดี. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี”. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สาขาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๖..

อรพินทร์ ชูชม และอัจฉรา สุขารมณ์. “องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น”. รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, ๒๕๓๒.

วิกิพีเดีย, ความยากจน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org [๔ กันยายน ๒๕๖๔].