การศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ชิมช้อปใช้”
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ มาตรการ "ชิมช้อปใช้" ทั้งในส่วนของการเข้าถึง ประโยชน์ที่ได้รับ และปัญหาของมาตรการนี้ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเก็บโดยการสุ่มโดยบังเอิญ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-35 ปี มากกว่าครึ่งมีระดับการศึกษาปริญญาตรี และประกอบอาชีพในบริษัทเอกชน/ ทำธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 10,000-30,000 บาท/เดือน โดยเกือบครึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร/ ปริมณฑล ในส่วนของความคิดเห็นทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งชื่นชอบและเลือกพรรคฝ่ายค้านมากที่สุด ในส่วนของการได้รับสิทธิมาตรการ “ชิมช้อปใช้” พบว่ามากกว่าร้อยละ 62.1 ได้รับสิทธิ์และเข้าร่วมโครงการ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างในแต่ละปัจจัยพบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนา และความชื่นชอบพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน มีผลต่อข้อคิดเห็นด้านปัญหาของมาตรการ “ชิมช้อปใช้” ที่แตกต่างกัน โดยในส่วนของความพึงพอใจพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนา และความชื่นชอบพรรคการเมืองที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจในระบบการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ที่แตกต่างกัน ในด้านของความพึงพอต่อการใช้สิทธิประโยชน์จากโครงการพบว่า อายุ อาชีพ ภูมิลำเนา และพรรคการเมืองแตกต่างกัน มีความพึงพอใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่าการเข้าถึงสิทธิ์ และการได้รับสิทธิ์ยังมีอุปสรรคต่อกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ที่เป็นสมาร์ทโฟนเพื่อลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ จึงเป็นสาเหตุให้กลุ่มผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์ไม่ได้รับสิทธิ์ตามจริง ทำให้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ ไม่ได้ถูกใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐสนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละกลุ่มอายุเพื่อให้นโยบายของภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
Article Details
References
กระทรวงการคลัง. (2562). แถลงข่าวความคืบหน้ามาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” และหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563, จาก https://www.mof.go.th/th/detail/1543205599/2019-09-04-17-21-19
พีพีทีวี ออนไลน์ (2562). นักวิชาการทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์มาตรการ ‘ชิมช้อปใช้’ กระตุ้นศก.จริงหรือ... สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563, จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/116616
โพสต์ทูเดย์ (2562). ผลของมาตรการชิมช้อปใช้ ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาค. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563, จาก
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/605385
โพสต์ทูเดย์ (2562). มาตรการชิม-ช็อป-ใช้...ตอบโจทย์เร่งฟื้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563 จาก
https://www.posttoday.com/ economy/ columnist/ 602143
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ม.ป.ป.) แนวคิดนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 จาก https://www.stou.ac.th/Schools/Sec/Services/e-Learning2/02-01.html
ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์. (2562). ผลของมาตรการชิมช้อปใช้ ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาค. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563,จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/605385
สถานีข่าวกระทรวงการคลัง. (2562). กระตุ้นต่อเนื่อง โครงการ “ชิมช้อปใช้” เฟส 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/MoFNewsStationThailand/posts/1231380033733977
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. XF2006177555.