การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภอเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 2) การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุในตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภอเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้สูงอายุในตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภอเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุซึ่งเป็นประชากรตัวอย่างจำนวน 229 คน นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ด้วยสถิติคือ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.70 เพศชาย ร้อยละ 46.30 ผู้สูงอายุมีระหว่างอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 50.70 ผู้สูงอายุส่วนมากมีสถานะภาพแต่งงาน ร้อยละ 73.40 ระดับการศึกษาส่วนมากผู้สูงอายุจบประถมศึกษา ร้อยละ 38.0 ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ ร้อยละ 34.10 ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่อ่านออกและเขียนได้ ร้อยละ 16.60 ผู้สูงอายุส่วนมากไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 34.90 รายได้ส่วนมากมาจากตนเอง ร้อยละ 61.60 คือเบี้ยผู้สูงอายุ มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท/เดือน ร้อยละ 42.40 การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.04 ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีกำลังเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตและเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง มีการนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อการแก้ไขปัญหาและความสงบภายในจิตใจ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตคือ ผู้สูงอายุส่วนมากจะใช้ระยะเวลาค่อนมากในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิที่พึ่งได้รับจากหน่วยงานของรัฐทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะวัย ดังนั้นหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามามีส่วนเสริมสร้างสุขภาวะเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และเสริมกระบวนการรู้คิด ทบทวนความจำ เพื่อป้องกันและช่วยชะลอสภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงวัยโดยวิธีการที่เหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Foundation Research and Elderly Development of Thailand. (2563). Elderly Statistic of Thailand in 77 Provinces. Retrieved January 10, 2021, from http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1533055363-125_1.pdf.
Kanchanan,R. (2019). Elderly Society and Socio-Economical Development. Bangkok: Academic Center, House of Representatives’ Secretary Office.
Kheaunubolratana Sub-district Administrative Organization.(2020). Khueanubonratana Sub-district Information, Ubonratana District, Khonkaen Province. Retrieved March 14, 2021, from http:// www.khueanubolratana.go.th.
KhonKaen Elderly Social Welfare Development Center.(2021). Role and Mission in Social Welfare and Social Support for The Elders. Retrieved March 14, 2021, from http://www.dop.go.th/th/aboutus/6.
Laping, U. (2018). The Study of Social Well-Being of The Elders in The North. (Research Report). Yanasangvorn Research Institute. Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom Province.
National Statistical Office of Thailand. (2020). Population and House Classified by Age in December. Retrieved February 27, 2021, from http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php.
Prasunil, J & Muangkasem, B. (2017). The Leader of Elderly Social Well-Being Dong Ma Da Sub-district, Mae Lao District, Chaing Rai Province.
Prompak, C. (2013). Thailand Ageing Society. Research and Information Division. Bangkok: Academic Center, Senate’s Office Secretary, p.17.
Suwanno, P. ( 2017). The Study of Elderly Social Well-Being in Tham-it Community, Wat Saeng Siritham, Thambol Tha-it, Pakkret District, Nonburi Province. MasterDegree in BuddhismDissertation. Mahachulalongkornrajavidyala University. Ayutthaya Province.
United Nation. (2015). World populations ageing 2015. Retrieved July 22, 2020, from https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/agei ng/WPA2015_Report.pdf.
Wongpraparatana, Y. (2011). The Study of Social Well-Being System To Elderly Group Development Guideline, Ban San Sai Laung, San Sai District, Chaing Mai Province. Research Report. Faculty of Management Science. Chaing Mai Rajabhat University. Chaing Mai Province.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition. New York: Harper and Row. Retrieved July 22, 2020, from http://www.sciepub.com/reference/ 180098.