การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและการปรับตัวของชาวนาในพื้นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษาตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

อัครเจตน์ ชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต ว่ามีเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตของชาวนาและการปรับตัวของชาวนาภายหลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต และชาวนาปรับตัวอย่างไรภายหลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากชาวนาในพื้นที่โนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ และชาวนาพื้นที่กาฬสินธุ์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ โดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อค้นคว้า และหาแนวทางการการปรับตัวรูปแบบการผลิตของชาวนาเข้า


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. เงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตของชาวนา ประกอบด้วย 3 เงื่อนไข คือ ประการแรก เงื่อนไขทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่ระบบตลาดเข้ามาในชุมชนทำให้ชาวนาต้องเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากการผลิตเพื่อยังชีพสู่การผลิตเพื่อการค้า ประการที่สอง เงื่อนไขทางการเมือง ที่กลไกรัฐและอำนาจรัฐเข้ามาสู่ชุมชนโนนบุรี เช่น สาธารณสุข โรงเรียน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการเข้ามาของการปกครองท้องถิ่น เข้ามามีบทบาทในในการเปลี่ยนแปลง และประการสุดท้าย เงื่อนไขทางวัฒนธรรม ชาวนาเข้าสู่การบริโภคนิยม ตามยุคสมัยเพื่อความสะดวกสบาย ส่งผลต่อหนี้สินของชาวนา

  2. ด้านการปรับตัวของชาวนาในพื้นที่โนนบุรีมีการปรับภายหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต ประกอบด้วย 4 ประการ คือ การสร้างและกระชับเครือข่ายทางสังคม การผลิตซ้ำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างกระบวนการต่อรองระหว่างชาวนากับรัฐ และการสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจและสังคมผ่านการพึ่งพิงนโยบายประชานิยมและเข้าเป็นเครือข่ายของกลไกรัฐในส่วนภูมิภาค เพื่อให้ชาวนาสามารถอยู่รอดท่ามกลางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงภายใต้ระบบทุนนิยม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiengthong, J. (2017). Rural Society in the Modern World. Chiang Mai: Social Sciences Chaingmai University.

Muenphakdee, C. (2017). Changes in Economic and Social Landscape in a Peasant Society of Bueng Kan Province: Review of the Concepts of Peasants’ Society of Edward C. Banfield and James C. Scott. Journal of Social Sciences and Humanities, 43(1), 52–79.

Nartsupha, C. (2007). Community Economy Concepts: Theoretical Propositions in Different Social Contexts (3rd ed.). Bangkok: Sangsan publishing house CO., LTD.

Praditsil, P. (2016). Research Methodology in Social Sciences. Chanthaburi: Humanities and Social Sciences, Rampaipunnee University.

Samukkethum, S. (1990). Marxist approach and the study of peasant social changes in the third world. Bangkok: Masterpress.

Sangkhamanee, J. (2016). Political Farmers: the power in Thailand's modern rural economy. Nontabury: sameskybooks CO., LTD.

Santasombat, Y. (2003). The dynamics and resilience of peasant societies: the northern community economy and the paradigm shift of communities in third world. Chiang Mai: Within Design Co., Ltd.

Sata, W. (2008). Community Way of Lif Before and After the Construction of Lampao Dam (Research Report). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Sattayanurak, A. (2016). Get better in financial status” from “farmer” to “entrepreneur”. Bangkok: Matichon Publishing House.

Seankhaw, P. (2019). The adaptability of Muslim peasants in Eastern Bangkok. Humanities Journal (Graduate School), 8(2), 23–37.

Thongyou, M. (2003). Changes in the Northeastern Farmer’s Economy The case of farmers in the Nam Phong. Bangkok: Sangsan publishing house CO., LTD.