โคลงนิราศหริภุญชัย : การวิเคราะห์คุณค่าโคลงนิราศหริภุญชัย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยนิราศ

Main Article Content

นิตยา เอกบาง

บทคัดย่อ

โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นโคลงนิราศเรื่องแรกในวรรณคดีไทยที่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์  ลักษณะคำประพันธ์เป็นแบบโคลงสี่สุภาพ (โคลงดั้นโบราณ) มีภาษาต่าง ๆ ปะปนอยู่หลายภาษา อาทิ ภาษาบาลีสันสกฤต เขมร  ภาษาล้านนาโบราณ  โคลงนิราศหริภุญชัยสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในปีเมิงเป้า จุลศักราช 879 ซึ่งตรงกับพุทธศักราช 2060 กวีผู้แต่งยังไม่ทราบชื่อแน่ชัด   ทว่าเป็นชนชั้นสูงในราชสำนักขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการแต่งเพื่อแสดงถึงอารมณ์ของกวีในการพรรณนาบทร้อยกรองที่ไพเราะอันเนื่องจากการเดินทางพลัดพรากที่อยู่เดิมไปชั่วคราว เกิดความรู้สึกอาลัยรักคนใกล้ชิดที่อยู่เบื้องหลัง  และเพื่อสะท้อนให้เห็นทัศนะของกวีในการบันทึกการเดินทางที่ได้ประสบพบเห็นระหว่างเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปนมัสการพระธาตุหริภุญชัยที่จังหวัดลำพูน สำหรับเส้นทางการเดินทางจะเริ่มจากบทบูชาพระรัตนตรัย บอกวันเวลาที่แต่ง แล้วกล่าวถึงการที่ต้องจากนางที่เชียงใหม่ไปบูชาพระธาตุหริภุญชัยที่เมืองหริภุญชัย ก่อนออกเดินทางได้นมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ ขอพรพระมังราชหรือพระมังราย นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณนาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอดทางจนถึงเมืองหริภุญชัย ได้นมัสการพระธาตุสมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่  โดยได้เปรียบเทียบกับเส้นทางปัจจุบันได้ออกเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่มาถึงจังหวัดลำพูน    ซึ่งเดินทางจากวัดพระสิงค์จนถึงวัดพระธาตุหริภุญชัย ระยะทางประมาณ 34.2 กิโลเมตร  โคลงนิราศหริภุญชัย ยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าของวรรณคดีในด้านอักษรศาสตร์  ด้านประวัติศาสตร์ ด้านโบราณคดี  ด้านศาสนา และด้านวัฒนธรรม อีกทั้งยังถือว่าโคลงนิราศหริภุญชัยนี้เป็นคู่มือการท่องเที่ยวที่สำคัญ สามารถนำไปส่งเสริมการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยนิราศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของคนในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Auangsakun, S. (2018). Lanna History. (12thed.). Bangkok: Aummirin Printing and phuplitsing.

Audomphorn, A. (2003). Thai Literature of Ayutthaya Period. Bangkok: Phattanasuksa.

Dokboukaew, P. (2000). Usabarotkhlongdan Lanna. Chainng Mai: Social Research Institute Chainng Mai University.

Janhom, L. (1989). Hari Punchai Klong Niras: Master piece Analysing. (Master’s Thesis) Chainng Mai University. Chainng Mai.

Kritmanorot, S. (2001). Lopburi Niras: Thepsatri Rajabhat University.

Na Nakon, P. (2004). Hari Punchai Klong Niras. Bangkok: Thaiwattanaphanit Ltd.

Phongsriphean, W. (2019). Ruthiratramphun Hari Punchai Klong Niras and Wat Pha Yaen inscription: Memorial Heritage of Aprinawaburi-Sri hari punchai. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation (PMSF).

Sripasang, W. (2015). Lanna Poem: Eu Ean Khean . Walailak Abode of Culture Journal, 14(2), 31–46.

Wichengkheaw, A., Jaisri, M., Yamdach, N. (2019). 500 Years Hari Punchai Klong Niras. Chiang Mai: Airadacoppytext.

Yamdach, N. (2019). Hari Punchai Klong Niras: Literature relation among Lanna Niras and Central Region. Vannavidas, 19(1), 1-33.