เศรษฐศาสตร์การเมืองของมรดกโลกในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

Main Article Content

ชนิกานต์ ผลเจริญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาตัวแสดงทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงก่อนการเป็นมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร 2.เพื่อศึกษาตัวแสดงทางเศรษฐกิจและการเมืองภายหลังการเป็นมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร และ 3.เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงก่อนการเป็นมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ประกอบด้วย (1) ชนชั้นสูง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับสูง (2) กรมศิลปากร (3) หน่วยงานภาครัฐ (4) หน่วยงานภาคเอกชน (5) ประชาชนและกลุ่มผู้ลักลอบขุดโบราณสถาน และ (6) องค์การยูเนสโก ตัวแสดงเหล่านี้ได้สร้างพลวัตความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสองพื้นที่ ชนชั้นสูงมีบทบาทสำคัญมากที่สุดและยังเป็นผู้ก่อตั้งกรมศิลปากรขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งในระยะแรกกรมศิลปากรยังไม่มีบทบาทมากนัก แต่เริ่มมีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมในสมัยรัชกาลที่ 8 – รัชกาลที่ 9 มาจนถึงปัจจุบัน

  2. ตัวแสดงทางเศรษฐกิจและการเมืองภายหลังการเป็นมรดกโลกของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ประกอบด้วยตัวแสดงเช่นเดียวกันกับในช่วงก่อนการเป็นมรดกโลก แต่บทบาทของกรมศิลปากรมีเพิ่มมากขึ้นในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องการอนุรักษ์ เนื่องจากพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535) ที่บังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

  3. ผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ประกอบด้วยผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์มักจะมีความสัมพันธ์กับบทบาทการบริหารจัดการของกรมศิลปากร เช่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ จึงปรับตัวด้วยการสร้างอาคารสูง และประชาชนที่เสียประโยชน์สามารถร้องเรียนและขัดขวางการดำเนินงานของกรมศิลปากรได้

 


คำสำคัญ : เศรษฐศาสตร์การเมืองของมรดกโลกในประเทศไทย; อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา; อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cambridge Dictionary. (2021). World Heritage Site. Retrieved April 5, 2021, from https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/world-heritage-site

Fine Arts Department. (1992). World Heritage: The World Cultural Heritage, Cultural World Heritage in Thailand. On Occasion 81 years of Fine Arts Department, 1992, 27 March. Bangkok: Chalongratana.

Fine Arts Department. (2017). About Fine Arts Department. Retrieved April 23, 2021, from https://www.finearts.go.th/main/categorie/about

Invade to World Heritage City. (No date). Retrieved March 29, 2021, from HTTPS://CONFLICTMAPPING-TH.COM/INFORMATION/INDEX/299

Jungsiriarak, S. Believe and Concepts of Ancient Site Preservation in Thailand from Past to Present. Journal of NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 8, 106-127

King Rama VI. (1957). Travel at PraRuang City. (4thed.). Bangkok.

Kumkasem, M. (2020). Preservation of Local Arts and Cultural. Bangkok: Fine Arts Department.

Lu, J., Luo, X., & Zhang, P. (2019). Rights–Values–Interests: The Conflict between World Cultural Heritage and Community: A Case Study of the West Lake Cultural Landscape Heritage in China Sustainability. Retrieved April 5, 2021, from https://www.mdpi.com/journal/sustainability

Matichon Online. (2018). Wat Si Chum (New) Want to Claim World Heritage, Send Sutthipol Lawyer Sue. Retrieved June 24, 2021, from https://mgronline.com/specialscoop/detail/9610000026585

Meskell, L., & Brumann, C. (2015). UNESCO and New World Orders. pp. 26-28, 34 in Global Heritage: A Reader. (1st ed). John Wiley & Sons, Inc.

Ministry of Culture. (No date). Thailand and the Position of World Heritage Committees. Retrieved October 4, 2016, from http://164.115.22.96/committee.aspx

Online Manager. (2008). Ayutthaya’s World Heritage with Surrounded Problem. Retrieved September 12, 2021, from http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000076816

Poomphongpad, P. (1990). Ayutthaya Hope to be Historical City. Journal of Osotho, 30(11), 56-65

Saising, S. (2008). Artisan Works in the Reign of King Rama III. Bangkok: Matichon.

Satawethin, T. (2012). Southeast Asia: Development of Political and Foreign Affair. Bangkok. Ramkhamhaeng University.

Sutheeratanapirom, K. (2005). Development of Concepts and Ancient Site Preservation Method in Thailand. Master’s Thesis. Silapakorn University. Bangkok.

Thairath Online. (2020). Si Satchanalai Prefect help Grandpa and Grandma to find the way, after Head of Fine Arts Department not Allowed Them to Build House. Retrieved January 21, 2021, from https://www.thairath.co.th/news/local/north/1911397

Thairath Online. (2016). Remove Ayutthaya’s Jail from World Heritage Site, Revealed Dense Area Cannot Stop New Building. Retrieved July 9, 2021, from https://www.thairath.co.th/news/local/central/792091

The Siam Society under Royal Patronage. (2011). Ayutthaya Talk: Worry of (World) Heritage. Retrieved March 29, 2021, from http://www.siamese-heritage.org/pdf/AyutthayaHeritageSiteInDanger.pdf

UNESCO. (2022). New Inscribed Properties 2021. Retrieved January 29, 2022, from https://whc.unesco.org/en/newproperties/

UNESCO. (2021). What is World Heritage? Retrieved April 5, 2021, from https://whc.unesco.org/en/faq/19#:~:text=World%20Heritage%20is%20the%20designation,generations%20to%20appreciate%20and%20enjoy

Wanlipodom, S. (1993). Hire in Archaeology, Rise of Cultural Heritage Devastate. Journal of Muang Boran, 19(2), 10-16

Wilaiwanich, T., & Mee-Anunt, P. (2020). The Transmission Guidelines of the Chakravartin’s Conception, the Symbol of Power in Fine Arts at Wat Na Phra Men, Phranakhon Si Ayutthaya Province by Phraya Chaiwichit (Phueak). Journal of Ayutthaya Studies Institute, 12(2), 22-37

Zhang, C., Fyall A., & Zheng, Y. (2014). Heritage and tourism conflict within world heritage sites in China: a longitudinal study. Retrieved April 5, 2021, from http://dx.doi.org/10.1080/13683500.2014.912204