การพัฒนารูปแบบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ (New Normal)

Main Article Content

ชาติชาย จาดตานิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสม เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่านและการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 ท่าน เชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 421 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 12 องค์ประกอบ นำผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจมาจัดทำ (ร่าง) รูปแบบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่และนำเข้าสู่การประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อลงมติรูปแบบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ ผลการลงมติเป็นเอกฉันท์ องค์ประกอบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 12 องค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นผู้นำ 2) ทักษะการปรับตัว 3) ความรู้ในการบริหารธุรกิจ และ 4) จริยธรรมในการทำงาน 2) ด้านเทคโนโลยีและการปรับปรุงระบบงาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) เทคโนโลยีในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) ระบบรูปแบบการบริการ และ 3) การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง และ 3) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ระบบการประเมินและผลตอบแทน 2) การพัฒนาบุคลากร 3) สร้างความผูกพันต่อองค์กร 4) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ 5) การสรรหาและจ้างงาน และได้นำรูปแบบศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ที่ได้รับความเห็นชอบด้วยมติเป็นเอกฉันท์จากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่มมาสร้างคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่และคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคความปกติใหม่ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เห็นว่าคู่มือมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bennett, A. M. (2021). The Impact of the COVID-19 Crisis on the Future of Human Resource Management. Journal of Human Resource Management. 2021. Vol.9 No.3: 58-63.

Berg, M., Marius, S. & Leoni, V. (2020). An exploration of key human resource practitioner competencies in a digitally transformed organisation. SA Journal of Human Resource Management /SA Tydskrif vir Menslikehulpbronbestuur. 2020. 18(0), a1404 : 1-13.

Josh Bersin Academy. (2020). Responding To COVID-19. Ten Lessons From The World’s HR Leaders. Retrieved June 3, 2021, from: https://joshbersin.com/2020/04/responding-to-covid-19-ten-lessons-from-the-worlds-hr-leaders/

Kaushik, M. (2020). Creating a conducive workplace environment during post COVID period. A Quarterly Peer Reviewed/Refereed Multidisciplinary Journal. 2020. Vol.3 Issue.3 July-September: 19-27.

Kelly, C. & Katie R. (2017). The HR Function in 2021: Models & Competencies. Retrieved June 1, 2021, from : https://ecommons.cornell.edu/handle/1813/73720

Meduri, Y. and Yadav, P. (2021). Automation Invading Human Resource Digital Transformation and Impact of Automation in the Space of HR. Delhi Business Review 2021. Vol.22 No.1 (January-June 2021) : 65-72.

MIT Management Sloan School. (2020). What happens to industry and employment after COVID-19?. Retrieved June 1, 2021, from : https://mitsloan.mit.edu/ideas-made-to-matter/what-happens-to-industry-and-employment-after-covid-19

PwC Thailand. (2020). 5 keys to cope with the world after the Covid-19 crisis of the Banking and Capital Market. Retrieved August 26, 2020, from : https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20200826.html

Revutska, O. (2021). Human Resource Management: a Shift Towards Agility due to a Pandemic of COVID-19. the 15th International Conference: Liberec Economic Forum 2021. Liberec : Technical University of Liberec Studentská, 2021. 423-430.

Sakpal, P. (2019). Study of Smart HR Hybrid Competency in Industry 4.0. Durgadevi Saraf Institute of Management Studies (DSIMS) The Management Quest. 2019. Vol.2 Issue 1 (April-September 2019) : 1-19.

Su, N. et al. (2021). Enhancing resilience in the Covid-19 crisis: lessons from human resource management practices in Vietnam. Current Issues in Tourism. 2021. Vol.24 No.22 : 3189-3205.

Sukhonthachit, P. (2019). Human resource age 4.0. NKRAFA Journal of Humanities and Social Sciences. Year 7 December 2019. pp. 17-28.