บทบาทพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

Main Article Content

พระชลญาณมุนี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอบทบาทของพระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ซึ่งป่าเป็นแหล่งรวมทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายต่าง ๆ จึงส่งผลต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ป่าจึงเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ในสภาพเดิม ซึ่งในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม เกิดจากการเพิ่มของประชากร (Population growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้น การให้ความรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ แก่พุทธศาสนิกชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งปัญหาภัยแล้ง โลกร้อน อุทกภัย วาตภัย น้ำเน่าเสีย ขยะล้นเมือง พื้นที่ป่าลดลง เพื่อให้ประชาชนทราบและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การจัดการขยะ น้ำเสีย การอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะพระสงฆ์ในสังคมไทย ได้มีการประยุกต์แนวคิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาดำเนินกิจกรรมทางสังคม เช่น การบวชป่า การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน การกำหนดอภัยทาน เขตพุทธอุทยาน เป็นต้น เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกษมร จันทร์แก้ว. 2541. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: อักษรสยามการพิมพ์.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนจัดการที่ดินและชุมชน

ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์. โครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์.ออนไลน์. สืบค้น

วันที่ 14 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/pcmd/About/about1.html.

--------------------------------------------------.พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562.ออนไลน์.

สืบค้นวันที่ 14 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา

http://115.31.166.198/DNP/FileSystem/download?.pdf

กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ป่า และสถานภาพของสัตว์ป่าในปัจจุบัน.

ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.seub.or.th/seub/

คมชัดลึก. ธรรม...พระอนุรักษ์ธรรมชาติ. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 14 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา:

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/15677

ธวัชชัย สันติสุข. (2550). กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. ป่าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

นิวัตน์ เรืองพานิช. (2553). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประพันธ์ ศุภษร. (2554). วินัยกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.ใน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส.

พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์.(2551). นิเวศเศรษฐศาสตร์ และนิเวศวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ ; จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 13).กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

----------------------------------- (2552). วิถีชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กองทุนหนังสือประเทืองปัญญา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระอนุชิต ชูเนียม.(2550). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ตามความคิดเห็นของพระสงฆ์กับ

ผู้นำชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ. (2546). พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

ภัทรพร สิริกาญจน.(2548). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ. แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน

สุวณโณ ในการพัฒนาชุมชน . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิรัช นิภาวรรณ. (2553). การบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: บทบาทขององค์กรในท้องถิ่น.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และ

สัตว์ป่า. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 14 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา:

https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20161208141955_file.pdf

โสภารัตน์ จาระสมบัติ. (2551). นโยบายและการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและสิ่งพิมพ์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนากับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา.

ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 14 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.stopcorruption.moph.go.th/application/editors/userfil.pdf

สุรศักดิ์ บุญเรือง.(2557). บทบาทของรัฐและประชาชรในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่ตาม

ธรรมชาติ. รายงานการวิจัย.กรุงเทพฯ:คณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

workpointtoday. เจาะปัญหาป่าทับคน คนทับป่า. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 14 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา:

https://workpointtoday.com/forest-interactive/