พระพุทธศาสนากับวิชาชีพข้าราชการพลเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนากับวิชาชีพข้าราชการพลเรือนในสมัยพุทธกาล และ 2) เพื่อนำหลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพข้าราชการพลเรือนในสมัยปัจจุบัน เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แหล่งข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะมุ่งเน้นไปที่หลักพุทธศาสนากับการประกอบอาชีพข้าราชการพลเรือนในสมัยพุทธกาลและในปัจจุบัน โดยตรงให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และตอบปัญหา
จากการวิจัยพบว่า 1) ในสมัยพุทธกาลไทยได้นำพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เมื่อประเทศชาติประสบกับปัญหาที่ยุ่งยาก ก็ได้นำเอาหลักธรรมนั้นมาช่วยแก้ปัญหาได้ทำให้บ้านเมืองสงบสุข โดยเฉพาะในระบบราชการต่าง ๆ เนื่องจากข้าราชการเกิดขึ้นนับแต่มีประเทศ รัฐชาติ โดยเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารประเทศ เพื่อรักษาความสงบและจัดระเบียบสังคม และ 2) ปัจจุบันเป็นการปฏิรูประบบราชการยุคใหม่ จึงเป็นการปฏิบัติโดยส่วนร่วม เพื่อเป็นการบริการให้สังคมโดยรวม สนองความต้องการของประชาชน และเกิดความพอใจเป็นไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมเพื่อสร้างความสามัคคีและยึดเหนี่ยวจิตใจในวิชาชีพ พระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นสื่อกลางในสังคมให้ทุกคนพัฒนาตนเองโดยเท่าเทียมกัน และเข้าถึงประโยชน์สุขได้ ฉะนั้น การดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ จำต้องมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ เพื่อเกื้อหนุนจุดหมาย เพื่อบรรลุภารกิจและปณิธานของวิชาชีพ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การให้ผู้บริหารมีงานทำทุกคน จะทำให้ลดปัญหาผิดศีลธรรม จารีตประเพณีของสังคม หรือการปลูกฝังศีลธรรมแก่ประชาชน และการส่งเสริมบุคคลที่ประกอบอาชีพที่สุจริต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Ajahn Sumedho. (2008). Buddhism and The King of Thailand. Bangkok: 24 Inter Print.
Kankratok, W. (2012). An Analytical Study of Enlightenment of People According to Their Occupations in Theravada Buddhism. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Leelakitpaisan, Y. (2008). Introduction to public administration. Bangkok: Suan Dusit University.
Phrakhru Phothithammanusas, Phramaha Samrong Saññato and Buarapa, H. (2020). The Integration of Buddhist Principle for Working Behavior in Local Government Organizations. Journal of Modern Learning Development. 5(3). 260-273.
Phramaha Ridtichai Sumuntapanee (Prompinid), Phra Soponpattanabandita, Phramaha Mit Thitapanyo and Bangploeng, K. (2020).
A Study of the Dhamma Explanation of Phra Thepvoramuni (Samli Paññāvaro) Affecting the People Lives in Buddhist Communities in That Phanom district, Nakhon Phanom Province. Phimoldhamma Research Institute Journal. 7(2). 145-153.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. Bangkok: SR Printing Mass Product.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). A Buddhist Prosperity Indicator. Bangkok: Sahadhammika Publishing.
Office of the Civil Service Commission (OSCS). (2021). Principles of Recruiting and Selection of Persons for Government Service: Qualifications of Civil Servants. Retrieved January 22, 2022, from https:www.ocsc.go.th/civilservant Office of the Civil Service Commission (OSCS). (2021). Code of Conduct for Civil Service Workers. Retrieved January 22, 2022, from https://www.ocsc.go.th/node/638.
Tantiwanitchanon, J. (2016). An Analytical Study of The Cultivation of Ethical Principle in the Youth by Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto)’s View Points. (Master’s Thesis). Mahidol University. Bangkok.
Yodkaew, A. (2019). The Four Points of Merit Expounded in His Majesty King Rama IX’s Royal Words. Retrieved March 14, 2022, from https://thainews.prd.go.th /th/news/detail/TCATG190116190446539.