ศึกษาการนุ่งห่มในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระคําน้อย จนฺทสาโร(จันทร์จาง)
พระมหาอินทร์วงค์ อิสฺสรภาณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ (1) เพื่อศึกษาผ้านุ่งห่มในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาการนุ่งห่มในพระพุทธศาสนาเถรวาท  (3) เพื่อวิเคราะห์การนุ่งห่มในพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยสืบค้นข้อมูลจากพระไตรปิฎก และเอกสารงานวิจัยต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง


ผ้านุ่งห่มในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องอัฐบริขารที่ขาดไม่ได้และมีความสำคัญต่อพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยคนส่วนมากมักเรียกว่า ผ้าไตรจีวร ซึ่งประกอบไปด้วย ผ้า 3 ผืน คือ 1. ผ้าอุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) 2.ผ้าอันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และ 3. ผ้าสังฆาฏิ      (ผ้าคลุมหรือผ้าทาบ) ซึ่งผ้านุ่งห่มเหล่านี้มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎก รวมทั้งในคัมภีร์ต่างๆ โดยวิธีการได้มา คือการไปตามหาเศษผ้าจากในป่า จากผ้าที่คนอื่นไม่ใช้แล้ว นำมาเย็บเป็นผ้าจีวร หรือ การรับถวายจากญาติโยมก็ได้


อย่างนี้เรียกว่าคหบดีจีวร โดยผ้าแต่ละผืนก็มีวิธีการใช้งานต่างกันไปตามแต่ละส่วน และยังบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้และการเลิกใช้ผ้านุ่งห่ม หรือ ผ้าจีวรไว้ดังนี้ (1) การทําพินทุจีวร (2) การอธิษฐานจีวร (3) การสละจีวร (4) การคืนจีวร (5) การวิกัปจีวร (6) คําถอนจีวร รวมไปถึงการนุ่งห่มผ้าจีวรก็มีหลากหลายรูปแบบตามแต่ละท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ โดยพระภิกษุเถรวาทในประเทศไทยนั้นมีการนุ่งห่มอยู่ 4 รูปแบบ ดังนี้ (1) ห่มคลุม (2)ห่มมังกร (3)ห่มเปิดไหล่เฉวียงบ่า (4) ห่มดอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kittiphalok K., & Phuttha Asana A. (2020). An Analy on The Laity's Roles in Fostering Buddhism : a Case Study ofLampang Luang Sub-District Ko Kah District Lampang Province. Journal of Buddhist Studies, 12(2), 462–477.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU.

Noi Bangya K. (2021). Historical Linguistics: A Case Study of Civara Color Terms of Buddhist Monks From Sukkhothai Period to Ratthanakosin Period. Phimoldhamma Research Institute Journal, 8(2), 131–140.

Papakro P., & Sawetaphong S. (2018). The Use of Robes in Theravada Buddhism. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 1(1), 146–158.

Silawanso, S. (2012).A Study of Civara or Yellow Robes in Theravada Buddhism. (Master'sThesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Surataso, T. (2008). Dictionary for the Study of Buddhism “Wat Kham”. (3 ed.). Bangkok: The Dharma Council and the Banluetham Institute .

Suriyarangsee S. (2018). Robes: Tailoring from the past to the present. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 3(2), 1–12.

Than Supho N.,& PanasriS.,&Phra Kru Kosit Watthananukul. (2021). A COMPARATIVE ANALYSIS ON HEAVENSIN THERAVADA AND MAHAYANA BUDDHISM. Journal of MCU Ubon Review, 6(3), 307–314.

.