เคป๊อบ แฟนด้อม และการเคลื่อนไหวทางการเมือง

Main Article Content

พัณณ์อร เภาเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี และ 2) ศึกษาถึงอิทธิพลของกระแสความนิยมเกาหลีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและแนวคิดของเยาวชนไทย โดยเฉพาะในเรื่องของความคิดในทางการเมือง ผลการศึกษาพบว่า


หลายประเทศรับวัฒนธรรมเกาหลีเข้ามาแต่วัฒนธรรมเกาหลีไม่ถือเป็นวัฒนธรรมหลักของประเทศปลายทาง  กลุ่มคนที่นิยมและชื่นชอบในวัฒนธรรมเกาหลีจึงไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมเท่าใดนัก ความต้องการสร้างพื้นที่เพื่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันทำให้กลุ่มคนกลุ่มนี้รวมตัวกันเป็นแฟนด้อม แต่ไม่นานมานี้ แฟนด้อมได้มีการทำกิจกรรมที่นอกเหนือไปจากการสนับสนุนศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการกุศลหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง กิจกรรมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มแฟนด้อมสามารถสรุปได้ว่ามาจากปัจจัยเรื่อง 1) ความต้องการแก้ไขภาพลักษณ์ของตนเองในสายตาของคนในสังคม, 2) พฤติกรรมของศิลปินที่มีการเปลี่ยนแปลงไปและเริ่มมีส่วนร่วมทางการเมืองเมืองมากขึ้น และ 3) การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและความสามารถในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของสมาชิกแฟนคลับ


วัฒนธรรมเกาหลีที่ก้าวเข้ามาในประเทศไทยแม้ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมและแนวคิดของเยาวชนไทยในแง่ของความคิดทางการเมือง แต่การที่กลุ่มคนที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมและศิลปินเกาหลีได้มารวมตัวกันเป็นแฟนด้อมได้สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันระหว่างสมาชิก


เมื่อมีเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมที่คนบางกลุ่มในสังคมได้รับ สมาชิกในแฟนด้อมสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านี้ได้โดยไม่ยากเนื่องจากพื้นฐานของกลุ่มแฟนด้อมก็ถือกำเนิดมาจากการไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยรวม การที่สมาชิกมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงง่ายต่อการขับเคลื่อนกิจกรรม กลุ่มแฟนด้อมมีการตัดสินใจที่เร็วและมีความสามัคคีในการผลักดันเรื่องต่างๆ ประกอบกับสมาชิกของกลุ่มเป็นผู้ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตและมีความสามารถในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย จึงทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองมีความน่าสนใจและสามารถเรียกความสนใจจากสังคมในวงกว้างได้ไม่ยาก และแม้ว่ากิจกรรมทางการเมืองจะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการเกิดของกลุ่มแฟนด้อมจึงทำให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นเพียงกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่การที่กลุ่มแฟนด้อมเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนเสียงและทัศนคติที่คนกลุ่มหนึ่งมีซึ่งสังคมส่วนใหญ่ไม่ควรเพิกเฉยหรือมองข้าม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Intasi, W. (2012). Two Decades of Developing Democracy in South Korea: Facilitating and Obstructing Factors. Journal of Social Sciences. 8(1), 67-108.

Matichon Online. (2020). So Cool! Korean Artists’ Fan Clubs Donated in Supporting Protest. Raised more than a Million within a Few Days and Launched a Campaign to Stop Buying Ads from Skytrain. Retrieved June 23, 2022, from https://www.matichon.co.th/ entertainment/news_2400337.

PPTV Online. (2020). Korean Artists’ Fans Donated More Than 4 Millions in Support of Protest. Retrieved June 15, 2022 from https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/135409.

Prachachat. (2020). Korean Artists’ Fan Clubs Banned BTS-MRT, Stopped Renting Billboards in Stations and Trains. Retrieved June 25, 2022, from https://www.prachachat.net/general/news-541532.

Preedachaschavaan, P., Sakdivorapong, C., & Satitwityanan, S. (2013). Acceptance and Behavioral Imitation of Korean Culture from Korean Entertainment Media among Thai Teenagers. Payapiwat. 5(1), 17-30.

SBS PopAsia HQ. (2018). 20 K-pop Fandom Names and Their Meanings. Retrieved June 17, 2022, from https://www.sbs.com.au/popasia/blog/ 2018/08/28/20-k-pop-fandom-names-and-their-meanings.

Scalet, S. & Schmidtz, D. (2002). State, Civil Society, and Classical Liberalism. In Rosenblum, N. & Post, R. (eds.) Civil Society and Government. Princeton: Princeton University Press.

Villaraza, M. (2021). Billboard Ads: A K-Pop Fan Trend That’s Spreading and Evolving. Retrieved June 24, 2022, from https://www.korea.net/TalkTalkKorea/English/community/ community/CMN0000005955.

Weller, R. (2005). Introduction: Civil Institutions and the State. In Weller, R. (ed.) Civil Life, Globalization, and Political Change in Asia. London: Routledge.

Witthawaskul, A. (2006). Public relations approach in promoting the Republic of Korea's images through television drama "A Jewel in the Palace”. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Wongwudthianun, S. (2015). K-Pop Confidential: Super Fans and the Craze that Consumes Them. Retrieved June 22, 2022, from https://www.bangkokpost.com/life/ social-and-lifestyle/349563/k-pop-confidential-super-fans-and-the-craze-that-consumes-them.