การพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในล้านนา

Main Article Content

ณฤณีย์ ศรีสุข
จิรัชนากานต์ เพิ่มขึ้น
พัชรีญา ฟองจันตา
สยาม อัจฉริยประภา
ฤทธิพล ไชยบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1)เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาจีนสาขาพุทธศาสตร์ ที่เรียนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และได้ลงทะเบียนเรียน วิชาหลักภาษาไทยเบื้องต้น ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 13 รูป / คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงและการสอนแบบออนไลน์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 หน่วย วิธีการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง นำมา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แบบทดสอบเป็นแบบปรนัยเลือกตอบและอัตนัย วิเคราะห์ความเชื่อมั่น
ของแบบทดสอบจากการหาค่า IOC โดยผู้เชี่ยวชาญ หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตรวจสอบประสิทธิภาพการสอน บันทึกผล แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ นำมาหาค่าเฉลี่ย X และ S.D. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าสถิติโดยการแจกแจงความถี่


ผลการวิจัย  


  1. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยสาหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model พบว่ารูปแบบการสอนภาษาไทยที่สร้างและพัฒนา มี 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เรื่องน่าสนใจ (กฎแห่งความพร้อม) ขั้นตอนที่ 2 อ่านเข้าใจเนื้อเรื่อง (กฎแห่งความพร้อม) ขั้นตอนที่ 3 คุยเฟื่องเรื่องย้อนกลับ (กฎแห่งความพอใจ) ขั้นตอนที่ 4 จับหลักเกณฑ์ทางภาษา(กฎแห่งความพอใจ และกฏแห่งการฝึกหัด) ขั้นตอนที่ 5 หรรษาการเขียน (กฎแห่งการฝึกหัด) ขั้นตอนที่ 6 ทดสอบบทเรียน (กฎแห่งความพอใจ)ที่ได้เรียนมาเป็น
    การวัดผลประเมินผลองค์ความรู้ของผู้เรียน และประเมินผลการสอนของนิสิต

  2. เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model พบว่า

รูปแบบวิธีการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 53.58 /95.35 มีประสิทธิภาพสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานที่กำหนด 80 / 80


3.เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาพุทธศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติโดย ADDIE model พบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับ พอใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chantarasombat, C. (2007). Developing a Knowledge Management Model for Self-reliant Communities. (Doctorate of Education Thesis). Mahasarakham University.

Koompoka, S. (2015). Thai National Flag Museum Management. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 2750-2765.

Nadprasert, P., Boriboon, G., & Sungsri, S. (2017). Management of local museums to promote lifelong learning. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 861-878.

Office of National Museums. (2022). Handbook of registration of antiques and objects of art. D-Library | National Library of Thailand, Retrieved July 25, 2022, from http://digital.nlt.go.th/items/show/8324/.

Phra Palad Kasem Thitisampanno. (2011). The roles of monks in preservation of antique sites, archaeolgical sites and antique arts in banlad district, phetchaburi province. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Pluemsamrungit, P., & Wilaikum, F. (2018). Museum: Learning Resources for Developing Learners in 21st Century. T.L.A. Bulletin, 62(1), 43-67.

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization). (2022). Thai Museums Database. Retrieved July 25, 2022, from https://db.sac.or.th/museum/

Thongkamnush, T., Buddhabhumbhitak, K., & Apichayakul, O. (2021). Promoting of museum tourism in Thailand with the concept of destination museum. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 15(1), 38-52.