แนวคิดอารยสถาปัตย์: นโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

วสันต์ ปวนปันวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาถึงประเด็นนโยบายและแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก ผ่านกรอบแนวคิดอารยสถาปัตย์ ผู้วิจัยนำเสนอผลการศึกษาได้จากการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ ยังสังเคราะห์ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา โดยนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาตรวจสอบร่วมกันเพื่อที่จะจัดหมวดหมู่ข้อมูลและคัดเลือกข้อมูลที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย สำหรับผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ 1.กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 2.กลุ่มภาคประชาชน 3.กลุ่มผู้สูงอายุ


ผลการศึกษาในงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นคือ 1.การดำเนินการของเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายและนโยบายโดยมุ่งส่งเสริมครอบครัวเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีแนวคิดว่าการดูแลผู้สูงอายุต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากสมาชิกครอบครัวทุกคน ปัจจัยสำคัญที่จะดูแลผู้สูงอายุประสบความสำเร็จคือ ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ชุมชน และครอบครัว 2. พื้นที่ของเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก ได้ให้ความสำคัญต่อแนวคิดอารยสถาปัตย์สำหรับสังคมสูงอายุ แต่ในการพัฒนานโยบายและใช้นโยบายในพื้นที่เป็นลักษณะของการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส่วนงานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณะสุข ชุมชม และภาคประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้จากความสำคัญของสุขภาพ ความเพียงพอ และความปลอดภัย แต่ตามหลักแนวคิดของอารยสถาปัตย์เทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลกจำเป็นต้องพัฒนานโยบายและกำลังคนให้สามารถรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต และ3.ชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลกมีความร่วมมือกับเทศบาลเมืองอรัญญิกเป็นอย่างดีผ่านการเข้าร่วมประชุมประจำเดือนและเสนอประเด็นปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับการดำรงค์ชีวิตของผู้สูงอายุ


ข้อเสนอแนะในงานวิจัย 1.ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชุมชนควรนำแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอารยาสถาปัตย์ไปใช้ในการดำเนินพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ 2.ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอารยสถาปัตย์สำหรับกลุ่มคนอื่น ๆ เช่น ผู้พิการ หรือกลุ่มเปาะบางอื่น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anumatrajakit, S. (2017). Universal Design in Thai society A case study of the elderly. Bangkok: Department of Social Development.

Chantawanich, S. (2009). Data analysis in qualitative research. (9th ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

District Chief, Muang District, Phitsanulok Province. (2020). District Chief. Interview. September, 22.

Khowkachaporn, P. (2014). Universal Design. Bangkok: Library and Museum Division, Office of Academic Affairs, Secretariat of the Senate.

Kongnual, P., Tanopanuwat, S., & Tangchitsomkit, W. (2020). Development of Universal Design for the Elders’ Quality of Life Improvement in Communities in Thon Buri District, Bangkok. Journal of Dhonburi Rajabhat University, 14(1), 49-54.

Iamsaad, T. & Sornsupap, R. (2017). Universal Design and social responsibility of BTS Skytrain. In V. Sooksatra (ed.), Proceedings of the 12th RSU National Graduate Research Conference (pp. 1053-1057). Bangkok, Thailand: Graduate School Rangsit University.

Slipakorn University, Thai version, Humanities, Social Sciences and Arts, 8(3), 41-54.

Mayor of Aranyik Municipality. (2020). Mayor of Aranyik Municipality. Interview. September, 22.

Representative of Phitsanulok Provincial Social Development and Human Security Office.(2022). Phitsanulok Provincial Social Development and Human Security Office Chief. Interview. September, 21.

Serivichayaswadi, P. & Mayuree, W. (2017). Facilities Management of Hotel Environment to Accommodate Senior Citizen by the way of Universal Design. Journal of Dusit Thani College, 11(special), 293-304.

Sub-district chief of Aranyik. (2020). sub-district chief of Aranyik. Interview. September, 21.

Thanopanuwat, S. (2019). Expectation and satisfaction of the elderly and the disabled towards tourism management under the universal design community model project in Koh-Kret, Nonthaburi. (Research report). Nonthaburi: Dhonburi Rajabhat University.

The Aranyik Town Municipality. (2018). Local Development Plan Phitsanulok Province (2018-2022). Retrieved December 21, 2019, from http://www.muangaranyik.go.th/file/news/news3364_file_7087.pdf .

Wongprom, J., Jongwutiwes, K., Prasertsuk, N., & Jongwutiwes, N. (2015). Community Participation in the development of Older Persons’ Quality of Life. Veridian E-Journal,

Village Headman, Village No. 5, Ban Khlong Mahadthai. (2020). Village Headman. Interview. September, 22.

Village Headman, Village Headman, Village No. 2, Ban Sanambin. (2020). Village Headman. Interview. September, 22.