การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในชุมชนบ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เรวดี มาลัยศรี
อุไรวรรณ พงศ์สุภากุล
จรรยาพร สุธีดวงสมร
พีรพัฒน์ ศิริรัตนพรรณ์
วรรณวิศา มะโหฬาร
ดรุณี ตั้งสีฟ้า
บุตรี จารุจินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในชุมชน บ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในชุมชนบ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 


รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยคุณภาพ โดยการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จาก ผู้นำในชุมชนชุมชนบ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และผู้นำครอบครัวหรือสมาชิก
ในครอบครัวในชุมชน จำนวน 10 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ นำเสนอ
ผลการศึกษาวิจัยโดยวิธีการสรุปพรรณนาความ    


          ผลการศึกษาพบว่า  (1) สภาพการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในชุมชน บ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรมในชุมชน   ด้านคุณธรรมจริยธรรม  ด้านการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ด้านการจัดการครอบครัว ด้านการมีส่วนร่วม
(2) ปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในชุมชนบ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  พบว่า  ผู้นำในสถาบันครอบครัวมีการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขาดแคลนมากขึ้น  เพราะผู้นำสถาบันครอบครัวจะเป็นเด็กหนุ่มที่มีอายุยังไม่มากและมีวุฒิภาวะและ
ความรับผิดชอบไม่สูงนัก และ (3)  แนวทางในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในชุมชนบ้านหัวอ่าว
หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ ควรให้สถาบันครอบครัวมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้นำสถาบันครอบครัวและชุมชนอื่น ๆ ที่ประสบผลสำเร็จ ให้ชุมชนบ้านหัวอ่าว หมู่ที่ 5 
มีบทบาทให้การสนับสนุนนโยบายและงบประมาณ และควรส่งเสริมการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใน
การดำเนินชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง และควรหาวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bangchang Subdistrict Administrative Organization (2016). Ban Hua Ao Prototype Sufficiency Economy Village. Samut Songkhram: Bangchang Subdistrict Administrative Organization.

Chuamueangphan, A. (2008). Sufficiency Economy: Survival of the Thai Economy. Maejo Journal Review, 8(2), 66.

Kachayuth, S. (2020). Sufficiency Economy Philosophy and the Result of Local Development in Kaeng Kae Sub District Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province.

Klinubon, S. (2019). The Study Of Participation Of Community Contributed To The Success Of Community Development Guided By The Philosophy Of Sufficiency Economy At Banhuakhaojeen, Tambon Hoyyangtone, Paktor District, Ratchburi Province. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Maharutsakul, P. & Phumturian, S. (2021). The Development Format Underlying Community Sufficiency Economy Model “Happiness Community” In Nakhonsawan Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(4), 307-323.

Office of the National Economic and Social Development Council (2014). Sufficiency Economy Model Village, Ban Hua Ao, Village No. 5, Bang Chang Subdistrict, Sam Phran District, Nakhon Pathom Province. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.

Office of the Royal Development Projects Board. (2007). What is Sufficiency Economy Philosophy? Bangkok: Office of the Royal Development Projects Board.

Phanpho, J., & Hanchana, C. (2021). Implementation On Philosophy of Sufficiency Economy For People Of Bankok Sub-District Municipality In Suwannakhuha District Nongbua Lamphu Province. Journal of Buddhamagga, 6(2), 42-51.

Phatthanamanee, P. (2018). Guidelines for the Development of Living Promotion According to the Sufficiency Economy Philosophy of Ban Mai Fat People, Sikao District, Trang Province. Faculty of Science and Technology. Fisheries Rajamangala University of Technology Srivijaya.

Phuhongthong, C. & Uwanno, T. (2009). Sufficiency Economy Philosophy and Subjective Happiness in Farmers. Journal of Development Administration Science, 49(1), 147- 165.

Saelee, P. (2019). An Application Of Sufficiency Economy For Living Lives Of Officers In Nakhon Si Thammarat City Hall. Journal of Buddhistic Sociology, 4(1), 54-72.

The Chaipattana Foundation. (2010). Sufficiency Economy. Bangkok: The Chaipattana Foundation. (Master’s Thesis). Rajabhat Maha Sarakham University, Sarakham.