องค์ความรู้ด้านการเมืองกับกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก
พิศมัย วงศ์จำปา
สหัทยา วิเศษ
นิกรณ์ โปธาฤทธิ์

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่อง องค์ความรู้ด้านการเมืองกับกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษานโยบายด้านการเมืองท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา เป็นวิจัยเชิงเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 9 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดขนาดเล็ก ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและวัฒนธรรมแบบล้านนา และที่สำคัญมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย ลีซู (ลีซอ) จีน มูเซอ อาข่า เมี่ยน ม้ง ลื้อ ลั๊วะ กะเหรี่ยง และไทยที่สูงโดยกระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ เช่น เชียงคำ แม่ใจ เมืองพะเยา ดอกคำใต้ เชียงม่วน ปง และภูซาง ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อมีจำนวนมากที่สุดโดยเฉพาะอำเภอเชียงคำ ในด้านการเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เองมีตัวแทนในการดำเนินการทางการเมืองโดยมุ่งแบ่งปันผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองและกลุ่มผลประโยชน์ของพื้นที่ หมายถึง การจัดสรรผลประโยชน์ที่หน่วยงานราชการส่วนกลางมอบนโยบายมา และนำนโยบายมาปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับกลุ่มของตนและกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มตัวเองที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเสนอนโยบายของรัฐ ผลประโยชน์ชาติ ผลประโยชน์ของชุมชนและความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นกับชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ มีความพร้อม มีจิตสำนึก มีจิตอาสา ในการทำให้ชุมชนของตนเองเจริญรุ่งเรื่องตามแบบฉบับการพึ่งพาตนเองได้ โดยยึดตามหลักวิถีของชุมชนของหลากหลายชาติพันธุ์ กฎหมาย จารีต ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละชาติพันธุ์ เพื่อหล่อหลอมให้สังคมส่วนใหญ่น่าอยู่และเกิดความสงบ ความเป็นระเบียบ ในหมู่ชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoenmuang, T. (2001). Theories and Concepts: Local Government and Local Administration. Bangkok: Torch Printing Project.

Charoenmuang, T. (2008). 100 Years of Local Government in Thailand, 1897-1997. Bangkok: Torch Printing Project.

Keyes, Charles F. (1992). “Who Are the Lue Revisited? Ethnic Identity in Laos, Thailand, and China,” Cambridge, Massachussetts: Massachussetts Institute of Technology, Center for International Studies, Working Paper.

King Prajadhipok's Institute. (2010). Integrated Research: Local Politicians and Electoral Behavior 2007. Bangkok: Research and Development Office King Prajadhipok's Institute.

Phayao Provincial Public Health Office. (2017). Population in 2018In Phayao Province. Retrieved January 24, 2018, from http://203.209.96.245/sapa/frontend/web/index. php?r=pophdc/pophdc.

Puangngam, K. (2009). Thai local government: principles and new dimensions in the future. 3rded. Bangkok: Winyuchon.

Sithisut, T. (1998). Political power base building/political group/local politics dacha sittisuth: the political power base building of political group in local politics: a case study of the “sandhidham” in nakhon pathom municipality. Bangkok: Chulalongkorn University.

Lertsomporn, V. (2010). Local politicians in Mae Hong Son Province. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.