การเมืองการปกครองไทยในจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การเมืองการปกครองไทยในจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ
1) ศึกษาพัฒนาการและวิวัฒนาการของการเมืองการปกครองในจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษารูปแบบการเมืองการปกครองในจังหวัดชัยภูมิ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการเมืองการปกครองในจังหวัดชัยภูมิและหาแนวทางแก้ไขประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 100 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่หรือการสุ่มแบบแนะนำปากต่อปาก
ผลการวิจัยพบว่า
1) พัฒนาการและวิวัฒนาการของการเมืองการปกครองในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2ถึงสมัยธนบุรี (พ.ศ.2310-2325) ชัยภูมิเป็นเมืองร้างเนื่องจากผู้คนตายในสงคราม บางส่วนถูกต้อนไปในดินแดนชนะสงคราม ในปีพ.ศ.2362 อ้ายแลชาวเวียงจันทน์อพยพครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานบริเวณอำเภอเมืองชัยภูมิในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งอ้ายแลหรือขุนภักดีชุมพลขึ้นเป็น พระภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรกขึ้นกับเมืองนครราชสีมา พ.ศ.2325-พ.ศ.2394 ชัยภูมิมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชขึ้นตรงกับเมืองนครราชสีมาส่งส่วยให้กรุงเทพมหานคร มีเจ้าเมืองปกครอง พ.ศ.2440 รัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองเป็นรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยเมืองชัยภูมิขึ้นตรงกับมณฑลลาวกลาง กองบัญชาการตั้งอยู่ ณ เมืองนครราชสีมา เมืองชัยภูมิมีฐานะเป็นหัวเมืองขึ้นตรงกับมณฑลนครราชสีมา ปีพ.ศ. 2443 บรรดาเมืองเล็กๆถูกยุบลงมีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองชัยภูมิ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอภูเขียว อำเภอจัตุรัส อำเภอบำเหน็จณรงค์ปีพ.ศ.2476รัฐบาลได้ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลเทศาภิบาลส่งผลให้มีการยกฐานะเมืองชัยภูมิที่เคยขึ้นตรงกับมณฑลนครราชสีมายกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดชัยภูมิ
2) รูปแบบการเมืองการปกครองในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ยุคที่1ยุคการปกครองโดยเจ้าพ่อพญาแลยุคที่ 2 เป็นยุคของการปกครองโดยบุคคลหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจมาจากรัฐบาลจะปกครองแบบประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการยุคที่ 3 การปกครองโดยใช้ตัวแทนจากรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแบบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบประชาชนมีสิทธิ์ในการใช้เสียงตัวเองในการเลือกตัวแทนให้กับตนเอง
3) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการเมืองการปกครองในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ปัญหาคอรัปชั่น แนวทางแก้ไข ได้แก่ มีการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐ เน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองชัยภูมิซ้ำซาก แนวทางแก้ไขได้แก่ วางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและวางท่อระบายน้ำเพิ่มขึ้นกำจัดสิ่งสกปรกที่เข้าไปอุดตันท่อก่อนเช่นขยะใบไม้ถุงพลาสติกต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอหรือควรติดตั้งฝาครอบท่อแบบหัวกะโหลก ปัญหาค่าครองชีพสูง สินค้ามีราคาแพงแนวทางแก้ไข ได้แก่ การลดราคาสินค้าลง การจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Boonmee, T. (2019). The development of social change,Thai politics,and the idea of related Reforms (Research report). Bangkok: Interdisciplinary College Thammasat University.
Kaewponngam, N. (2017). Political conomy in the context of Thai society under the condition of political uncertainty conflicts in Chaiyaphum Province (Research report). Chaiyaphum Reproduce: Research grants from the National Research Council of Thailand fiscal year 2017.
Kaewponngam, N. (2022). The history of Chaiyaphum Province. (Research report). Chaiyaphum Reproduce: Fund for Research and Development Institute Chaiyaphum Rajabhat University, fiscal year 2020.
Praditsilp, C. (2016). Social Research Methodology. Chanthaburi: Faculty of Humanities and Social Sciences. Rambhai Barni Rajabhat University.
Laorit, S. et al. (2002). History of Chaiyaphum City. Bangkok: Suttha Phim Dan.
Permpoonwiwat, S., & Kaewmano, J. (2021). Reconciliation elections and non-rights buying Voice sales Chaiyaphum Province (Research report). Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Singsuwan, A. (2010). The history of Isan thesis from 1932 to the end of the 1977 Decade (Research report). Bangkok: Thesis Master of Arts Department of History Studies Department of History graduate school Silpakorn University.
Sriwatthanasarn, C. (2020). Volunteers on background and examples of military Citizens: A case study of the Four Musketeers and Major Luang Pibulsongkram and the change of government in 1932. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Tosakul, R. (2013). Isaan Niyom: Local Popularity in Siam Thailand. Bangkok: Textbook Project Foundation.Social Sciences and Humanities.
Yema, B. (2011). Introduction to Political Science. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.