รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์

Main Article Content

นิจปัณฑ์นีร์ ชาวบ้านเกาะ
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
ชัยวิชิต เชียรชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ 3) จัดทำคู่มือการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจากผลการวิจัย


การวิจัยใช้วิธีการทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างกำหนดคุณสมบัติและคัดเลือกให้ตรงตามจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแบบจำลองสมการโครงสร้างในการสนทนากลุ่ม 7 คน (2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือในการวิจัย 5 คน (3) ผู้ตอบแบบสอบถาม 460 คน (4) ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินร่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและร่างคู่มือแนวการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในการสนทนากลุ่ม 13 คน และ (5) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินคู่มือแนวการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสรุปเนื้อหาในการสนทนากลุ่ม และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตลอดจน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ AMOS


ผลการวิจัยพบว่า


1.องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง และ ความสมดุลการทำงานและชีวิต ทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันทำนายการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 50.80 นอกจากนี้ ทุนมนุษย์ และ ทุนโครงสร้าง ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานผ่านความสมดุลการทำงานและชีวิต ทั้ง 2 องค์ประกอบร่วมกันทำนายการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความสมดุลการทำงานและชีวิต ได้ร้อยละ 27.80 แบบจำลองสมการโครงสร้างจากการพัฒนามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


2.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีปัจจัยขององค์ประกอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ดังนี้ ทุนมนุษย์ ได้แก่ เจตคติในการปฏิบัติงาน อัตมโนทัศน์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการบริหาร และ ทักษะในการปฏิบัติงาน ทุนโครงสร้าง ได้แก่ การจัดการองค์ความรู้ การปรับตัวเชิงพลวัต การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ความสัมพันธ์ลูกค้า และ ความสัมพันธ์ชุมชน ความสมดุลการทำงานและชีวิต ได้แก่ ครอบครัว ลักษณะงาน และ เวลา ส่วนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ คุณภาพงาน ปริมาณงาน ระยะเวลาการส่งมอบงาน และ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร


3.คู่มือพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ แนะนำแนวทางโดยแบ่งเป็น 3 มิติ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง และ ความสมดุลการทำงานและชีวิต โดยได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีเนื้อหาและความเป็นไปได้ในระดับดีมากในการนำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Assavarojkulchai, A. (2010). The Causal Effect Between Factors and Teacher Performance Effiency in The Chinese Private School in Thailand, Nakornpathom. (Doctoral Dissertation). Department of Educational Admiistration: Nakornpathom.

Bank of Thailand (2023). Annual Report 2022. Bangkok: Retrieved December 30, 2022, from https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/reports/annual-report/AnnualReport2022.html.

Becker, B. & Gerhart, B. (1996). The Impact of Human Resource Management on Organizational Performance: Progress and Prospects. Journal of Academy Management, 39(4), 779-801.

Boonnithipop, S. (2018). Factors that affect the performance of personnel. Sub-district Administrative Organization in Khao Phanom District, Krabi Province. (Master's Thesis). Ramkhamhaeng University: Bangkok.

Charoensuk, S. (2019). The Determinant Factors of Performance Efficiency of the Operating Workers of an Automotive Parts Factory in Chonburi Provinve. (Master’s Thesis). Thamasat University: Bangkok.

Dusitratanakul, O. (2014). Factors Affecting to Working Effectiveness of the Office of the Permanent Secretary Under Ministry of Agriculture and Cooperatives: A Case Study of the Personnel in the Central Administration. (Master’s Thesis). National Institute of Development: Bangkok.

Kamma, P. (2018). The Factors Fostering the Performance Efficiency of Silpakorn University Supporting Staff. (Master’s Thesis). Silpakorn University: Nakornpathom.

Nokesiri, M. (2016). Factors Affective the Efficiency Performance of thr Employee Thamaruk Auto Parts Co,Ltd. (Master’s Thesis).Rajabhat Rajanagarindra University.Chachoengsao.

Siljalu, P. (2012). SPSS and AMOS. (18th ed.). Bangkok: S.R.Printing Mass Product.

Sakkayaphong, K. (2013). Human Resource Management Affecting Work Efficiency of the Automotive and Auto Part Industry. (Master’s Thesis). Rajamangala Thanyaburi University: Phatumtani.

The office of Industrial Economic (2022). Economic Industrial. Bangkok: Retrieved December 30, 2022, from https://https://www.oie.go.th/view/1/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81/TH-TH.