ผลกระทบจากการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ต่อประชาชนในพื้นที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่มีต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง และเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะของการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบตามเป้าหมายของโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด จำนวน 15 คน แบ่งออกเป็น เก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 7 คน ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ หน่วยงานหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานหรือองค์กรอิสระที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ และการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนมีการพัฒนาโครงการฯ และเคยทำงานกับโครงการฯ จำนวน 4 คน และ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตั้งแต่ก่อนมีการพัฒนาโครงการฯ และไม่เคยทำงานกับโครงการฯ จำนวน 4 คน นอกจากนี้ มีการสังเกตการณ์เพื่อเก็บข้อมูลด้วย สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ด้านข้อมูล และด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
(1) ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่มีต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง พบว่า เกิดผลกระทบเชิงบวก จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนโดยรอบได้รับการพัฒนา ด้านรายได้ของประชาชาชนในชุมชนโดยรอบเพิ่มขึ้น ด้านอาชีพ เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ด้านค่านิยมและวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมของชุมชนได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ด้านบทบาทของกลุ่มอำนาจที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินโครงการฯ ผู้นำระดับท้องที่มีความเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มของภาคประชาชนเพื่อติดตามการดำเนินการของโครงการฯ และด้านการจัดสรรผลประโยชน์สาธารณะ เกิดการประสานงาน การเจรจาต่อรอง เพื่อแก้ปัญหาสาธารณะร่วมกัน ระหว่างผู้นำระดับท้องที่และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหา
ด้านการจัดการขยะ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ คุณภาพของน้ำ
(2) ปัญหา ข้อจำกัด ของการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบฯ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบลป่ายุบใน และการประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ ยังไม่ทั่วถึง และมีข้อเสนอแนะในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ ได้แก่ การสนับสนุนด้านการศึกษา สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร เพิ่มการจ้างงานประชาชนในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการฯ และรับฟังความคิดเห็นให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในตำบลป่ายุบใน และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Channoi, R., Tavarom, A., & Sukwisut, S. (2019). Impact of The Development Project in Phuket Commercial Zone on People (Research Report). Chon Buri: Commerce and Business School, Burapha University.
Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Liberal Arts Review, 13(25), 103-118.
Eastern Economic Corridor. (2022). About EECi. Retrieved October 2, 2022, from https://www.eeci.or.th/en/about-eeci/.
Eastern Economic Corridor. (2022). Eastern Special Development Zone Act B.E. 2561. Retrieved October 2, 2022, from https://www.eeco.or.th/th/eec-act .
Nissaisuk, N. (2013). The Impact of Eastern Seaboard Industrial Development, Rayong: A Case Study of Mab Yangporn Community, Pluak Daeng District, Rayong Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chon Buri.
Tongseng, I. (2014). Social and Economic Impacts on Relocated Communities in Luang Prabang Airport Development Project, Lao PDR. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Tubmuang, A. (2021). Social and Cultural Impacts of Sa Kaeo Special Economic Zone. Journal of Social Development and Management Strategy, 23(1), 143–162.
Tunngern, S. (2011). The Soio-Economic Impacts of Laem Chabang Deep Sea Port on Laem Chabang Community in Chonburi Province. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Viyapone, N., & Rakkwamsuk, E. (2019). Development Administration of the Project in Economic Corridor Case Study: Eastern Economic Corridor (EEC). Mahachula Academic Journal. 6(2), 95-109.
Wongpanich, A. (2006). The Study of Social Impact of Natural Gas Pipeline Construction Project on the People along Natural Gas Pipeline: A Case Study of Phan Thong District and Muang District, Chonburi Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chon Buri.