การศึกษาปัจจัยหลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูงที่มีผลต่อความมุ่งมั่น ในการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดปทุมธานี และปัจจัยหลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูงที่มีผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดปทุมธานี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ที่รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ซึ่งประชากรมีขนาดใหญ่และไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน โดยการเลือกตัวอย่างจากสูตรไม่ทราบขนาดตัวอย่างของคอคแรน และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพปัจจัยหลักการ 7 อุปนิสัยของผู้มีประสิทธิผลสูงของผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.21, S.D.= .62) เมื่อพิจารณาในแต่ละอุปนิสัย พบว่า อุปนิสัยที่ 7 การลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอมีค่ามากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.74) รองลงมา ได้แก่ อุปนิสัยที่ 2 การเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ อยู่ในระดับมาก ( = 30, S.D.= 0.77) อุปนิสัยที่ 6 การผนึกพลังประสานความต่าง ( = 4.29, S.D.= 0.70) อุปนิสัยที่ 5 การเข้าใจผู้อื่นก่อนจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา ( = 4.25, S.D.= 0.67) อุปนิสัยที่ 3 การทำสิ่งสำคัญก่อน ( = 4.19, S.D.= 0.77) อุปนิสัยที่ 1 การเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน ( = 4.07, S.D.= 0.75) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ อุปนิสัยที่ 4 การคิดแบบชนะ/ชนะอยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D.= 0.66) ตามลำดับ
2.ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.57, S.D.=0.72) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากที่สุด
ในด้านการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D.= 0.79) รองลงมา ได้แก่ ด้านการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.70) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D.= 0.68) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.
Grantton, L., & Ghoshal, S. (2003). Managing Personal Human Capital: New Ethos for the Volunteer Employee. European Management Journal, 21(1), 1-10.
Mowday, R. T., Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). The measurement of organizational commitment. Journal of Vocation Behavior, 14, 224-247.
Neuhauser, P.C. (2002). Building a high-retention culture in healthcare: Fifteen ways to get Good people to stay. Journal of Nursing Administration, 32(9), 25-38.
Promto, P. (2019). Measuring Habit Level of Employees at Mea Moh Power Plant Electricity Generating Authority of Thailand by Applying the Seven Habits of Highly Effective People Principle. Journal of Graduate School, Pitchayatat, 14(1), 107-117.
Stephen, R. C. (2000). The 7 Habits of Highly Effective People. illustrated; Publisher, Running Press.
Tangsomchai, C. & Prapaschankul, T. (2014). Measuring habit level of employees of TOT Public Company Limited in eight Upper Northern Provinces by applyingthe seven habits of highly effective people principle, Graduate School of Cheingmai University.
Watthanabut, B. (2019). Knowledge exchange and transformational leadership style for team improvement. Utopíay Praxis Latinoamericana, 24(6), 206-214.
Watthanabut, B. (2021). New Normal of Human Capital Learning in COVID-19 Era. Journal of MCU Social Science Review, 10(4), 294-305.