การประเมินความประทับใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา จำนวน 355 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t (t-test) และค่า F – test (One – Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินความประทับใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 2 ด้าน คือ ด้านพนักงานผู้ให้บริการและด้านความรู้ของพนักงานผู้ให้บริการ รองลงมา คือ ด้านความสะดวกของสถานที่ให้บริการ ด้านคุณภาพของงานบริการ และด้านข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากการให้บริการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. การเปรียบเทียบความประทับใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า 1) ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความประทับใจต่อการให้บริการโดยรวมไม่แตกต่างกัน 2) ประชาชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีความประทับใจต่อการให้บริการโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 3) ประชาชนที่มีการศึกษาแตกต่างกันมีประทับใจต่อการให้บริการ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4) ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความประทับใจต่อการให้บริการ แตกต่างกัน 5) ประชาชนที่มีรายได้แตกต่างกัน มีความประทับใจต่อการให้บริการโดยรวมแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chantharang, K. (2020). Satisfaction with Public Services of Map Phai Subdistrict Administrative Organization. Ban Bueng District. Chonburi Province. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi Province.
Faculty of Business Administration and Liberal Arts Rajamangala University of Technology Lanna Chiang Rai. (2020). Report on the Results of the Assessment of People's Satisfaction with the Service. Mae Chan Subdistrict Municipality, Mae Chan District, Chiang Rai Province.
Faculty of Researchers Northern College. (2021). Report on the Results of A Survey of Service Recipients' Satisfaction with the Services of Na Choeng Khiri Subdistrict Administrative Organization. Khiri Mat District. Sukhothai Province.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608-609.
Kulthon, T. (2005). General Concepts about Public Policy. Bangkok: Public Relations.
Niyato, T. (2019). Effectiveness of Services of Lat Sawai Municipality, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province, Pathumthani University. Academic Journal, 11(2), 142-152.
Puangngam, K. (2001). Thai Local Government. Bangkok: Winyuchon Publishing Company.
Preedidilok, K. (1999). Organizational Management Theory. Bangkok: Thana Printing.
Raksakul, N. (2018). Service Quality in Bang Duea Subdistrict Administrative Organization, Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. (Master’s Thesis). Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Phra Nakhon Si Ayutthaya.
Saroj, S. (2001). Job Satisfaction of Secondary School Teachers. Under the Department of General Education Roi Et Province. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Maha Sarakham.
Tantipoolwinai, S. (1998). Strategy for Creating Services. Bangkok: O.S. Printing House.