การพัฒนาศักยภาพผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดสู่การประกอบอาชีพและ การจ้างงานโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น 2)เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้งานของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพสู่การจ้างงานและ 3)เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ภูมิหลัง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในการพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูที่มีความเหมาะสมและนำไปสู่การจ้างงาน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Methodologies) โดยการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด จำนวน 85 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า
ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 70.60 มีอายุระหว่าง 20 – 29 ปี ร้อยละ 50.60 มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 37.60 ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 65.90 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 47.10 สาเหตุที่ทำให้ติดยาเสพติดเกิดจากความอยากรู้อยากลอง ด้านความสามารถในการปฏิบัติงานและการเรียนรู้งานของผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.85) ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพทางร่างกาย (μ = 3.46) การพัฒนาศักยภาพทางอารมณ์ (μ = 3.70)การพัฒนาศักยภาพทางความสามารถ (μ = 4.16) และการพัฒนาศักยภาพทางการยอมรับ (μ = 4.08)จากการศึกษาได้พบข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพของผู้บำบัดยาเสพติดดังนี้ คือ 1)การพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย ควรต่อเติมห้องทำกิจกรรมและทำกิจกรรมนันทนาการมากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดมีสภาพร่างกายที่ฟื้นตัวเร็ว ผ่อนคลายจากความเครียดและการคิดถึงบ้าน 2)การพัฒนาศักยภาพด้านอารมณ์ ทีมสหวิชาชีพนำการให้คำปรึกษาและการทำกิจกรรมกลุ่มมาใช้ในการบำบัดรักษา ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดเกิดการยอมรับ เห็นคุณค่าในตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมที่จะให้โอกาสตนเองได้เริ่มต้นใหม่ 3) การพัฒนาศักยภาพด้านความสามารถ อาชีพที่นำมาใช้ในกระบวนการยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดมีความหลากหลายทางด้านความสามารถ 4) การพัฒนาศักยภาพด้านการยอมรับ ควรมีการให้คำปรึกษาเพื่อเสริมพลังหรือการให้กำลังใจกับผู้เข้ารับการบำบัดเพื่อเป็นกำลังใจการกลับสู่สังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chainakin, C., Prachapipat, C., & Phumprawai, A. (2016). Cessation of Repeated Amphetamine Addiction: A Case Study of Rehabilitated Persons in Behavior Modification Camp by the Therapeutic Community Method. Kaurarun Journal of Nursing, 23(2), 248-262.
Deekung, W. (2021). Social Work Practicm 2, Social Work Department. Khonkaen: Mahamakut Buddhist University Isan Campus.
Khonkaen Provincial Public Health. (2021). Rehabilitation for Drug Addict. Khonkaen: Khonkaen Provincial Public Heath Annual Report.
Ministry of Public Health. (2016). The Guideline for Drug Addict Rehabilitation of Ministry of Public Health. Samut Sakhon: Born to Be Publishing Inc.
Pochanakorn, S. (2020). The Empowerment Model for Addicted Patient and Family to Prevent Relapse. Journal of Buddhist Antropology, 5(2), 305-323.
Sareerae, N, Jooprempri, K, & Munloan, G. (2018). Drug Addict’s Stigmatization, Discrimination and Community Right. (Research Report). Khonkaen: Faculty of Humanities and Social Sciences, Khonkaen University.
Thanyarak Khonkaen Hospital. (2021). Potential Rehabilitation Report of Drug Addicts. Khonkaen: Thanyarak Khonkaen Hospital Annual Report.
Wangein, C. (2018). Drud Addict Rehabilitation. Retrieved July, 9, 2021, from www.thaihealty.or.th/content/45088