การบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี (2) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรีและราชบุรี และ (3) ศึกษาแนวทางการสร้างต้นแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอธิบายพรรณนา ซึ่งเทียบเคียงกับแนวความคิดทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารต้นแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี พบว่า มีการวางแผนเพื่อการเตรียมพร้อมอัตรากำลัง พัฒนาบุคลากร สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน การใช้จ่ายงบประมาณจะคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับ การวางแผนจะเป็นแบบมีส่วนร่วม มีการแบ่งงาน การประสานงานและการควบคุมภายในองค์กรเป็นระบบ เปิดโอกาสบุคลากรในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็น และนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ (2) ข้อเสนอแนะต่อการบริหารต้นแบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษา จังหวัดนนทบุรี ลพบุรี และราชบุรี พบว่า การจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถทันยุคสมัย และ (3) แนวทางการสร้างต้นแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม 2) การคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับจากปฏิบัติภารกิจ 3) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น 4) การมีระบบการดำเนินงานที่ดีภายในองค์การ 5) การกระจายอำนาจการตัดสินใจและให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ 6) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการภายในองค์กร 7) มุ่งเน้นการปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเปิดเผย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bilkhader, P. & Chanchai, M. (2019). Critical Success Factors of Being a Model of Local Government Organizations with a Reward of Excellent Administration: a Case Study of Prik Municipality Sadao District, Songkhla Province (Research Report). Songkhla: Songkhla Rajabhat University.
Chinasan, A. (2021). The Administration Of Local Administrative Organizations Excellent In Accountability And Encouragement On Citizens Participation: A Case Study Of Local Administration In Nakhornratchasima. Research Community and Social Development Journal, 15(1), 83-93.
Department of Local Administration Promotion. (2013). Manual for preparing local development plans. strategic plan Develop a three-year development plan action plan and monitoring and evaluation. Bangkok: Department of Local Government Promotion.
Kitikun, P. (2020). Decentralization to local areas: Organization of public services. Local government. Retrieved February 17, 2020, from https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dllink.php?nid=71420&filename=house2558_2
Leklersindhu, S. (2019). Management of Local Administrative Organizations In Central Province. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 41-51.
Nong Tin Nok Subdistrict Administrative Organization. (2023). Project to reduce steps. and time period for permission to be granted Construction of buildings to meet the needs of the people Fiscal year 2023. Chachoengsao: Nong Tin Nok Subdistrict Administrative Organization.
Phosri, T. (2020). Applying the principles of good governance in the management of administrators of educational institutions under supervision Secondary Educational Service Area Office, Area 29. Bua Bundit Educational Administration Journal, 20(4), 67-77.
Phuangngam, K. (2016). Local government in Thailand: principles and new dimensions in the future. (9th ed.). Bangkok: Foundation for the Promotion of Local Government. Local government.
Phutthiphongchanchai, T., & Sanitwattanakul, J. (2017). Good governance efficiency of local government organizations: a case study in Mueang Buriram District Buriram Province. (Master’s Thesis). Buriram Rajabhat University. Buriram.
Rawanavik, K. & Yavaprapas, S. (2022). Good Management Of Local Administrative Organizationsin Thailand. MCU Journal of Social Development, 7(3), 123-136.
Sunthornwipat, A. (2018). Development of municipal management models for municipal administrators in the eastern region On the basis of good governance. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chonburi.