การจัดการสภาพแวดล้อมและสภาวะวิกฤตลุ่มน้ำจาง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไปของปัญหา สาเหตุ อุปสรรค การดูแลจัดการบริบทลุ่มน้ำจาง 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง 3. เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชน 229 คน แบบสัมภาษณ์จากแกนนำการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง 15 คน โดยวิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน 1) เก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการมีส่วนร่วมการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง จากประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสถิติเชิงพรรณนา 2) จัดกระบวนการการมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค A-I-C (Appreciation, Influence, and Control)
ผลการศึกษาพบว่า 1.สภาพทั่วไปของการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง พบว่าสาเหตุเกิดจากปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตร ปัญหาน้ำเน่า ปัญหาน้ำแล้ง และปัญหาน้ำปนเปื้อนสารจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร โดยภาพรวมชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง อยู่ในระดับมาก ( = 3.51) 2.การมีส่วนร่วมในการจัดการและการอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง พบว่าการใช้กระบวนการ A-I-C สรุปดังนี้ 1) ขั้นเห็นคุณค่า ชุมชนมีจิตสำนึกและเห็นคุณค่าของน้ำลุ่มจางที่มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต มีการบริหารจัดการตามวิถีของชุมชนผ่านกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ จึงรวมกลุ่มจัดตั้ง กลุ่มฮักน้ำ 2) ขั้นปฏิสัมพันธ์ ชุมชนมีความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมการปรับภูมิทัศน์แนวทางเดินลุ่มน้ำจางให้สะอาด มีการวางแผนในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 3) ขั้นควบคุม ชุมชนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการลุ่มน้ำจาง มีการออกระเบียบ กฎเกณฑ์ในการดูแลอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 3.แนวทางการจัดการและการอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำจาง พบว่า ชุมชนมี มีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน มีการจัดทำแผนชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการออกกฎระเบียบ ตามแนวทางของการอนุรักษ์ และรักษาทรัพยากรน้ำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Community water resource management manual according to royal initiatives with science and technology. (2021). Hydro and Agricultural Information Institute. Public Organization: Ministry of Science and Technology.
Chantarasupasen, J., Khoomsab, K., & Khoomsab, R. (2020). Using AIC techniques for monitoring and community participation in the conservation of freshwater jellyfish. In the area of Nong Mae Na Subdistrict, Khao Kho District, Phetchabun Province. Ratchaphak Journal of Humanities and Social Sciences, 14(37), 204 - 214.
Khawsa-ard, M. et al. (2011). Water management policy guidelines for Thailand. Bangkok: Thailand Research Fund (TRF).
Kongsat, S. (2009) Application of folk wisdom in water management to develop the economy, society, culture and environment of the Lam Takhong River Basin community (Research Report). Nakhon Ratchasima : Mahasarakham University.
Le Saver, C. (2020). “General basic information of Lampang Province”, Lampang Provincial Administrative Organization. Retrieved on November 1, 2023, form http://www.lp-pao.go.th
Sukhakorn, K. (2013). Community learning of local wisdom and sustainable management ofnatural resources, Wisdom to Ecological Value Project fiscal year 2012 (Research Report). Lampang : Suan Dusit University.
Thamrong, P. (2020). General basic information of Lampang Province, last edited 2016, Lampang Provincial Agriculture and Cooperatives Office. Retrieved November 1, from http: //www.korsorlampang.net
Upasod, A. (2019).Community wastewater administration and management using participatory methods of local administrative organizations (Research Report). Lampang : Lampang Rajabhat University.
Wongtrakul, C. et al. (2006). Project to develop community participation processes in natural resource and environmental management in the Chang River Basin (Research Report). Lampang: Thailand Research.