แนวทางการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง และ 2) หาแนวทางการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ฯ ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง จำนวน 254 คน และกลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบร่างแนวทางฯ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) สภาพปัจจุบันของการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้านการนำ เป็นลำดับที่หนึ่ง (PNI modified = 0.67) ด้านการควบคุม เป็นลำดับที่สอง (PNI modified = 0.66) ด้านการจัดองค์กร เป็นลำดับที่สาม (PNI modified = 0.65) และด้านการวางแผน เป็นลำดับที่สี่
(PNI modified = 0.62)
2) ผลการหาแนวทางการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 28 แนวทาง ได้แก่ ด้านการวางแผน จำนวน 7 แนวทาง ด้านการจัดองค์การ จำนวน 6 แนวทาง ด้านการนำ จำนวน 9 แนวทาง และด้านการควบคุม จำนวน 6 แนวทาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Gatethai, P. (2013). Strategy Development for Dual Vocational Training Management in Technical College in the Lower Northern Region. (Doctoral Dissertation ). Kamphaeng Phet Rajabhat University. Kamphaeng Phet.
Kaewkahlong, N. (2021). Administrative Factors Influencing the Effectiveness of Educational Management of DUAL VOCATIONAL EDUCATION in Colleges under the Sakon Nakhon Provincial Vocational Education. (Master’s Thesis ). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Lampang Provincial Education Office. (2022). Lampang Province Educational Development Plan 2023 – 2027. Lampang: Lampang Provincial Education Office.
Laphim, S. (2019). Development of Guidelines for Excellence of Dual Vocational Education of Udonthani Vocational Education. ( Master’s Thesis). Maha Sarakham University.Maha Sarakham.
Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017 – 2036. Bangkok: PRIKWARN GRAPHIC CO., LTD..
Laphim, S. & Ruangmontri, K. (2019). Development of Guidelines for Excellence of Dual Vocational Education of Udonthani Vocational Education. (Master’s Thesis). Maha Sarakham University. Maha Sarakham.
Thianthai, C. et al. (2022). The Development of Capabilities and Uniqueness of Thai Vocational Labor in Three Focal Industries: An analysis of Thai Vocational Labor Journey Maps in the New Normal. (Research Report). Bangkok: National Research Council of Thailand.
Worakham, P. (2019). Educational Research. Maha Sarakham: Taxila printing.