ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

Main Article Content

ปานวาด วัชรชวาลา
ปณตนนท์ เถียรประภากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน 3) เพื่อสร้างสมการณ์พยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 86 คน และครู จำนวน 310 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน รวม 396 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูป กำหนดขนาดโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้ขนาดโรงเรียน เป็นชั้น (Strata) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน


ผลวิจัยพบว่า


1.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


2.ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง ลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


3.ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน เรียงลำดับจากตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ปัจจัยระดับบุคคลด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี (x1) รองลงมาคือปัจจัยระดับองค์กรด้านการบูรณาการเทคโนโลยี (x4 ) ปัจจัยระดับบุคคลด้านการพัฒนาวิชาชีพ ( x3 ) และปัจจัยระดับบุคคลด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยี  ( x2 ) ได้สมการพยากรณ์ในรูปสมการคะแนนดิบหรือเขียนในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


y1 = .606 + .441x1  + .146x4  + .181x3  + .103x2


z1 = . .509x1  + .154x4  + .219x3  + .106x2

Article Details

How to Cite
วัชรชวาลา ป., & เถียรประภากุล ป. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 13(3), 137–152. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/273095
บท
บทความวิจัย

References

Anderson, R. E., & Dexter, S. (2005). School technology leadership: An empirical investigation of prevalence and effect. Educational Administration Quarterly, 41(1), 49-82.

Boonchan, B. (2011). A Structural Equation Model of Information Technology Leadership for basic School Administrators. (Doctoral Dissertation). KhonKaen University. KhonKaen.

Center for the Advanced Study of Technology Leadership in Education: CASTLE. (2009). Principals Technology Leadership Assessment. Retrieved September 14, 2022. from http://dangerouslyirrelevant.org/wp content/uploads/2017/04/PTLAPacket.pdf

Chawanapaisarn, J. (2020). Guidelines on The Development of Technology Leadership of school Administrator in The Tawaravadee Consolidation Under the Secondary Educational Service Area Office Suphanburi. (Master’s Thesis).Silpakorn University. Bangkok.

International Society for Technology in Education: ISTE. (2009). National educational technology standards for administrators. Retrieved September 14, 2022. from http://www.iste.org/stabdards/nets-for-administrators.ospx

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.

Ministry of Education. 2017. The National education plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Retrieved June 10, 2021. from https://www.moe.go.th

Sonsombat, S. (2023). Technology Leadership of school Administrators Affecting Roles of Digital age teacher Under Nakorn Pathom Primary Educational Service Area Office 1. (Master’s Thesis). Nakhon Pathom Rajabhat University. Nakhon Pathom.

Somjai, S. & Kijthorntham, W. (2018). School Administration by Technology Leadership. Journal of Dusit Thani College, 12(1), 350-362.

Sukwong, T. (2022). A study of Technological Leadership of School Administrator in the Digital Era under the Secondary Educational Service Area Office 29. (Master’s Thesis). Sakonnakhon Rajabhat University. Sakonnakhon.

The Secondary Education Service Area Office Lampang and Lamphun. (2022). Educational information. Retrieved June 12, 2021. From http://www.sesalpglpn.go.th

The Secondary Education Service Area Office Lampang and Lamphun. (2021). Report Self-evaluation of educational institutions, fiscal year 2021. Retrieved May 12, 2022. From http://www.sesalpglpn.go.th

Worakham, P. (2019). Educational Research. Maha Sarakham: Taxila printing.