กลยุทธ์การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษามีคุณภาพมีเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา การวิจัยครั้งนี้กำหนดที่จะศึกษาถอดบทเรียนของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา เพื่อเป็นการหาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา โดยมีขอบเขตการวิจัย ด้านพื้นที่วิจัยโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ศึกษาเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา เหตุปัจจัยภายนอก เหตุปัจจัยภายใน เหตุปัจจัยฉุดรั้ง เหตุปัจจัยภายนอก เหตุปัจจัยภายใน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบออนไลน์ จาก Creative Research SystemS ในระดับความเชื่อมั่นที่ 95%
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ( 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 – 2565 ทุกรายรายวิชา อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา อยู่ในระดับดีมาก
2. ผลการทดสอบระดับชาติ O-Net ปีการศึกษา 2563 - 2565 พบว่า 2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการทดสอบระดับชาติ O-Net อยู่ใน ระดับปานกลาง 2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการทดสอบระดับชาติ O-Net อยู่ใน ระดับพอใช้
3. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านพระพุทธศาสนา (B-NET) ปีการศึกษา 2563 - 2565 พบว่า 3.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 31.07 – 35.56 เมื่อพิจารณาเป็นรายปีการศึกษา ใน 4 วิชา พบว่า วิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ บาลี 3.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 31.50 – 34.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายปีการศึกษา ใน 4 วิชา พบว่า วิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ บาลี
4. ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับคุณภาพของกระบวนการบริหารหลักสูตรในภาพรวมของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 4.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นชาย โดยมีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี ส่วนวุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5 - 15 4.2 คุณภาพของกระบวนการบริหารหลักสูตร ในภาพรวมของโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ ยกเว้น ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ อยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนการใช้หลักสูตรของการศึกษา ด้านการนิเทศกำกับติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ด้านการประเมินการใช้หลักสูตร และด้านการวางแผนการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Institute for Visioning the Future of Innovation. (2019). A guide to looking at the future. Bangkok: Thammasat University.
Muean Phuttha Wittaya School. (2022). Teaching and learning management and evaluation. Chiang Rai: Muean Buddhawittaya School.
Nitikraiphong, S. (2018). Curriculum management strategies: tools for effective educational management. Bangkok: Chulalongkorn University.
Office of Secondary Education Administration. (2016). New future skills in the 21st century. Bangkok: Secondary Education Administration Office.
Pimpa, P. (2018). Decentralization of education to local areas. Doctoral thesis. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Sittikorn, T. (2016). Learning design in the 21st century. Bangkok: Suvarnabhumi Institute of Technology.
Wangsrikoon, A. (2014). Thai education in the 21st century: Productivity and development guidelines. Phitsanulok: Phibunsongkhram Rajabhat University.
Wechacha, P. (2022). Explanatory sequential mixed methods research. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University.