การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตสุกรในเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร สภาพการผลิตสุกรและวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรในเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามแล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 48 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์เลี้ยงสุกรเฉลี่ย 12 ปี เลี้ยงสุกรแบบฟาร์มขนาดเล็กที่มี จํานวน สุกร 30-50 ตัว พึ่งพาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสหกรณ์ ด้านสภาพการผลิตสุกร เกษตรกรมีกําลังการผลิต 100-200 ตัวต่อรอบ ใช้สายพันธุ์ลูกผสมทางการค้า ให้อาหารแบบเทราด ใช้ยาปฏิชีวนะ และยังขาดความรู้ด้านการใช้วัคซีน ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มีผลผลิตเฉลี่ย 80-100 กก. ต่อตัว และมีเพียงร้อยละ 20 ที่ผ่าน GAP การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนฟาร์มขนาด 100 ตัวต่อรอบ พบว่ามีต้นทุนการผลิตรวม 579,000 บาท โดยต้นทุนผันแปรสูงถึง 468,000 บาท ต้นทุนคงที่ 61,000 บาท มีรายได้รวม 583,000 บาท ทําให้มีกําไรสุทธิ 50,000 บาทต่อรอบ หรือ 500 บาทต่อตัว มีอัตรากําไรสุทธิร้อยละ 8.64 จุดคุ้มทุน 55 ตัว และใช้ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี แต่ยังมีความเสี่ยงสูงจากโรคระบาด ราคาผันผวนและนโยบายภาครัฐ จึงจําเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยงที่ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Baum, R., & Bienkowski, J. (2020). Eco-efficiency in measuring the sustainable production of agricultural crops. Sustainability,12(4),1-12.
Department of Livestock Development. (2022). Livestock population data in Thailand 2022. Retrieved February 20, 2023, from https://region6.dld.go.th/webnew/pdf/it6565.pdf
Komlatskiy, V., & Smolkin, R. (2023). Precision technologies in pig farming. E3S Web of Conferences, EDP Sciences. (0357) 1-6, https://doi.org/10.1051/e3sconf/202337103057
Nguyen, T. et al. (2023). Increasing sustainability in pork production by using high inclusion levels of co-products distillers dried grains with solubles, wheat middling and canola meal doesn't affect pig growth performance and meat quality but reduces boar taint. Animal Bioscience, 36(7), 1091-1100.
Rizzo, A. et al. (2023). Antimicrobial resistance and current alternatives in veterinary practice: A review. Current Pharmaceutical Design, 29(5), 312-322.
Singh, M. et al. (2023). Participatory assessment of management and biosecurity practices of smallholder pig farms in North East India. Frontiers in Veterinary Science, 10, 1-10.
Sriwica, N., & Pilangam, P. (2021). A feasibility study of swine farm business investment in Nong Han District, Udon Thani Province. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 118-131.
Tuyttens, F. A. M., Van Gansbeke, S., & Ampe, B. (2011). Survey among Belgian pig producers about the introduction of group housing systems for gestating sows. Journal of Animal Science, 89(3), 845-855.
Wang, G. et al. (2022). The regulatory effect of herd structure on pig production under the environmental regulation. PLOS ONE, 17(4), 1-13.
Witt, J., Krieter, J., Wilder, T., & Czycholl, I. (2023). Measuring welfare in rearing piglets: Test–retest reliability of selected animal-based indicators. Journal of Animal Science,101(7),1-14.